วันอังคารที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2561

นิทานพื้นบ้าน

นิทานพื้นบ้าน
นิทานพื้นบ้าน คือ ?
นิทานพื้นบ้าน หมายถึง เรื่องเล่าที่เล่าสืบต่อกันมา ดั้งเดิมนั้นถ่ายทอดกันด้วยมุขปาฐะ( การเล่าปากต่อปากกันมา การบอกเล่าต่อๆกันมา โดยมิได้เขียนเป็นลายลักษณ์ ) แต่ก็มีอยู่มากที่บันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร และนิทานพื้นบ้านต้องเล่าด้วยถ้อยคำธรรมดา ภาษาชาวบ้านทั่วๆไป เป็นเรื่องเล่าต่อๆกันมาช้านาน หลายชั่วอายุคน ไม่สามารถรู้ได้ว่าใครเป็นคนเล่าดั้งเดิม ต้นเรื่อง

วัตถุประสงค์ในการเล่า นิทานพื้นบ้าน คือ ?
เพื่อให้เกิดความบันเทิง ความสนุกสนานเบิกบานใจ ผ่อนคลายความตึงเครียด เป็นคติเตือนใจ ช่วยอบรมบ่มนิสัย ช่วยให้เข้าใจสิ่งแวดล้อมและปรากฏการณ์ธรรมชาติ เพื่อเสริมศรัทธาในศาสนา เทพเจ้า สิ่งศักดิ์สิทธิ์

เนื้อเรื่องของ นิทานพื้นบ้าน ?
เนื้อเรื่องของนิทานเป็นเรื่องนานาชนิดแตกต่างกันไป อาจเป็นเรื่องเกี่ยวกับการผจญภัย ความรัก ความโกรธ เกลียด ริษยา อาฆาต ตลกขบขัน หรือแม้แต่เรื่องแปลกประหลาดผิดปกติธรรมดา 

ลักษณะของตัวละครในเรื่อง ?
มีลักษณะต่างๆกัน อาจเป็นคน ยักษ์ ครุฑ นาค เจ้าหญิง เจ้าชาย อมนุษย์ แม่มด เทวดา นางฟ้า แต่ให้มีความรู้สึกนึกคิด พฤติกรรมต่างๆเหมือนคนทั่วไป หรืออาจจะเหมือนที่เราอยากจะเป็น 

นิทานพื้นบ้านแต่ละท้องถิ่น

นิทานในแต่ละท้องถิ่นมีเนื้อเรื่องส่วนใหญ่คล้ายคลึงกัน เพราะเมื่อนิทานตกไปอยู่ในท้องถิ่นใดก็มักมีการปรับเนื้อเรื่องให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมของถิ่นนั้น ส่วนรายละเอียดจะแตกต่างไปบ้างตามสภาพแวดล้อม และอิทธิพลของวัฒนธรรมความเชื่อของ แต่ละท้องถิ่น

อ้างอิงhttp://xn--o3cdbaaf0a2nen1byqc.rakjung.com/
นาย วสันต์  สาริสาย เลขที่3





การอ่านแปลความตีความและขยายความ

                              การอ่านแปลความตีความและขยายความ 

การอ่านแปลความ
             ความหมาย   
การแปลความ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานพ.ศ.2525 (2525:540)ให้ความหมายว่า "แปล"ไว้ว่า "ก.ถ่ายความหมายจากภาษาหนึ่ง ทำให้เข้าใจความหมาย"
ชวาล แพรัตกุล(2518:228-229) ได้ให้ความหมายของคำว่า "แปล"ไว้ว่า หมายถึง การแปลเจตนา และรู้ความหมายของเรื่องราวนั้น และสามารถถ่ายทอดให้ผู้อื่นเข้าใจได้ด้วยถ้อยคำใหม่ สำนวนใหม่พอสรุปความหมาย"การแปลความ"ได้ว่า หมายถึง การอ่านที่มุ่งให้เกิดความเข้าใจกับเนื้อหา เริ่มจากการแปลคำหรือศัพท์ที่ไม่รู้ความหมาย หรือเป็นการแปลศัพท์จากภาษาหนึ่งไปยังอีกภาษาหนึ่ง การถอดคำประพันธ์ แปลความหมายรูปภาพ เครื่องหมายต่างๆ   เช่น
    หน้าวังหรือจะสั่งด้วยนะนก ในแนบอกของพี่ว่าโหยไห้
                                    มิทันสั่งสกุณินก็บินไป ลงจับใกล้นกตะกรุมริมวุ้มวน
                                    คำที่ขีดเส้นใต้ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน หมายถึง นก

ความหมาย
 
 
             การอ่านตีความ หมายถึง  การอ่านเพื่อให้เข้าใจความหมาย  ความคิดสำคัญของเรื่อง  ความรู้สึก และอารมณ์สะเทือนใจจากบทประพันธ์ ซึ่งอาจเข้าใจได้มากน้อยลึกซึ้งเพียงใด ตรงกันกับผู้ประพันธ์หรือไม่ หรือผู้อ่านคนอื่น ๆ หรือไม่ ขึ้นอยู่กับความสามารถและประสบการณ์เดิมและความรู้สึกของผู้อ่านแต่ละคน การตีความของทุกคนอาจไม่ตรงกันเสมอไป  โดยในกระบวนการอ่านเพื่อตีความนั้นผู้อ่านจะต้องใช้ความรู้ ความสามารถในการแปลความ จับใจความสำคัญ การสรุปความ รวมทั้งการเปรียบเทียบ ความสัมพันธ์ของข้อความ


การอ่านตีความ

การอ่านตีความ  หมายถึง  การอ่านเพื่อให้เข้าใจความหมาย   
ความคิดสำคัญของเรื่อง   ความรู้สึก น้ำเสียง และเจตนาของผู้เขียน เช่น
แนะนำ สั่งสอน เสียดสี ประชดประชัน การตีความของทุกคนอาจไม่ตรงกันเสมอไป
กระบวนการอ่านเพื่อตีความผู้อ่านจะต้อง  ประกอบด้วย
๑.ใช้ความรู้ ความสามารถในการแปลความ
๒.จับใจความสำคัญ
๓.การสรุปความ
๔.การเปรียบเทียบ ความสัมพันธ์ของข้อความ

ความสำคัญของการอ่านตีความ


     การอ่านตีความเป็นการอ่านที่ต้องอาศัยทั้งความรู้ ประสบการณ์   
การสังเกต  และการวิเคราะห์ ของผู้อ่าน 

      การอ่านตีความเป็นการอ่านขั้นสำคัญที่ทำให้เข้าใจงานเขียนทุกชนิด 
การอ่านตีความจึงมีความสำคัญ  ดังนี้

     ๑. ช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจเนื้อหาสาระของเรื่องที่อ่านได้หลายด้านหลายมุม 

     ๒. ช่วยให้เห็นคุณค่าและได้รับประโยชน์จากสิ่งที่อ่าน

     ๓. ช่วยให้ฝึกการคิด  ฝึกไตร่ตรองเหตุผล

     ๔. ช่วยให้มีวิจารณญาณในการอ่านมากยิ่งขึ้น

     ๕. เป็นเครื่องมือสำคัญในการเข้าถึงงานประพันธ์นั้น ๆ 

    ๖. ช่วยให้ผู้อ่านมีโลกทัศน์ที่กว้างไกล  ลึกซึ้ง มีใจกว้างยอมรับความแตกต่าง ของมนุษย์ด้วยกันได้

การตีความควรจะตีความทั้งด้านเนื้อหาและด้านน้ำเสียงควบคู่กันไป 

ตัวอย่างที่ ๑

"ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ"

ตีความด้านเนื้อหา : น้ำพริกที่มีปริมาณน้อย เมื่อตำแล้วเทละลายลงแม่น้ำย่อมสูญเปล่า เพราะไม่เกิดรสชาติใดๆเปรียบได้กับการทำอะไรก็ตามแล้วสูญเปล่า
 ตีความด้านน้ำเสียง : เตือนสติคนเราว่า การจะทำอะไรต้องประมาณตนว่า
สิ่งที่ทำลงไปนั้น จะได้ผลคุ้มค่าหรือไม่

ตัวอย่างที่  ๒
            เหมือนบายศรีมีงานท่านถนอม
เจิมแป้งหอมน้ำมันจันทน์ให้หรรษา 
พอเสร็จงานเขาเอาทิ้งลงคงคา

ต้องลอยมาลอยไปเป็นใบตอง
                                                                 (นิราศพระบาท - สุนทรภู่)

ตีความด้านเนื้อหา : สุนทรภู่เปรียบเทียบว่าชีวิตคนเรานั้นเหมือนบายศรี
เวลามีงานก็จะถนอมเป็นอย่างดี แต่พอเสร็จงานก็ไม่มีประโยชน์ ไม่มีคุณค่า
ก็จะกลายเป็นเพียงเศษใบตองเท่านั้น

ตีความด้านน้ำเสียง : สุนทรภู่ต้องการสะท้อนให้เห็นถึงชีวิตที่ผันแปรของคน
ซึ่งเมื่อก่อนเคยมีความสุข มีคนยกย่องให้เกียรติ แต่บัดนี้ต้องมาพบกับความทุกข์
ความขมขื่นตามลำพัง

สรุปผลการตีความ : เตือนใจให้ผู้อ่านได้ยั้งคิดถึงชีวิตของคนว่า ทุกอย่างไม่แน่นอน
พึงเตรียมใจไว้สำหรับสัจธรรมข้อนี้ด้วย

การตีความควรจะตีความทั้งด้านเนื้อหาและด้านน้ำเสียงควบคู่กันไป
ตัวอย่างที่ ๑

"ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ"



ตีความด้านเนื้อหา : น้ำพริกที่มีปริมาณน้อย เมื่อตำแล้วเทละลายลงแม่น้ำย่อมสูญเปล่า เพราะไม่เกิดรสชาติใดๆเปรียบได้กับการทำอะไรก็ตามแล้วสูญเปล่า



ตีความด้านน้ำเสียง : เตือนสติคนเราว่า การจะทำอะไรต้องประมาณตนว่า

สิ่งที่ทำลงไปนั้น จะได้ผลคุ้มค่าหรือไม่
ตัวอย่างที่  ๒
                             เหมือนบายศรีมีงานท่านถนอม
                       เจิมแป้งหอมน้ำมันจันทน์ให้หรรษา
                       พอเสร็จงานเขาเอาทิ้งลงคงคา
                        ต้องลอยมาลอยไปเป็นใบตอง
                                                       (นิราศพระบาท - สุนทรภู่)
ตีความด้านเนื้อหา : สุนทรภู่เปรียบเทียบว่าชีวิตคนเรานั้นเหมือนบายศรี
เวลามีงานก็จะถนอมเป็นอย่างดี แต่พอเสร็จงานก็ไม่มีประโยชน์ ไม่มีคุณค่า
ก็จะกลายเป็นเพียงเศษใบตองเท่านั้น

ตีความด้านน้ำเสียง : สุนทรภู่ต้องการสะท้อนให้เห็นถึงชีวิตที่ผันแปรของคน
ซึ่งเมื่อก่อนเคยมีความสุข มีคนยกย่องให้เกียรติ แต่บัดนี้ต้องมาพบกับความทุกข์
ความขมขื่นตามลำพัง

สรุปผลการตีความ : เตือนใจให้ผู้อ่านได้ยั้งคิดถึงชีวิตของคนว่า ทุกอย่างไม่แน่นอน
พึงเตรียมใจไว้สำหรับสัจธรรมข้อนี้ด้วย

     การขยายความ
การขยายความ หมายถึง วิธีการถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจข้อมูล ข่าวสาร หรือเรื่องราวต่าง ๆ ที่ได้ศึกษาค้นคว้า แปลความ ตีความ อย่างมีวิจารณญาณ    แล้วถ่ายทอดรายละเอียดของข้อมูล เรื่องราว เพิ่มมากขึ้น ชัดเจน มีสาระและเหตุผลโดยอาศัยเรื่องเดิมหรือข้อความที่ปรากฏเป็นพื้นฐาน
การขยายความสามารถทำได้หลายวิธี ดังนี้

     ๑.การกล่าวถึงสาเหตุและผลที่สัมพันธ์กัน

     ๒.การยกตัวอย่างหรือข้อเท็จจริงมาประกอบเนื้อเรื่องเดิม

     ๓.การอธิบายสิ่งที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้นเพิ่มเติม

     ๔.การคาดคะเน (การอนุมาน) สิ่งที่น่าจะเป็น หรือสิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไป

 โดยอาศัยข้อมูลเหตุผลจาก เรื่องเดิมเป็นพื้นฐานการคิดคาดคะเน

ตัวอย่างการขยายความ

 ตัวอย่างที่ ๑                     ฝนตกหยิม ๆ ยายฉิมเก็บเห็ด

          จากข้อความนี้ สามารถขยายความออกไปได้โดยคิดถึงสิ่งที่นาจะเป็นและใช้เหตุผลประกอบได้ดังนี้
๑.หญิงชราชื่อฉิม มีฐานะยากจน เพระต้องออกไปหาเห็ด
แม้ว่าฝนจะตก  แกสวมเสื้อผ้าเก่า ๆ (อาจจะขาดก็ได้เพราะยากจน)

๒.ยายฉิมผู้นี้อยู่ตามลำพัง เพราะหากมีลูกหลานก็ไม่น่าจะใจร้าย
ปล่อยให้แกออกไปเก็บเห็ดตามลำพังขณะฝนตก

๓. ยายฉิมอาศัยอยู่ในกระท่อมชายป่า
เพราะเป็นภูมิประเทศที่เที่ยวหาเห็ดได้

๔.ขณะที่แกออกไปเก็บเห็ดนั้นเป็นเวลาเช้าตรู่
เพราะถ้าสายอาจมีคนอื่นมาเก็บไปก่อน     หรือมิฉะนั้นดอกเห็ด
ก็จะบานซึ่งไม่เป็นที่นิยมที่จะรับประทาน

๕.เป็นช่วงฤดูฝน
๖.ยายฉิมน่าจะเก็บเห็ดเพื่อเอาไปขาย เพราะอายุขนาดนั้น
คงไม่สามารถทำงานหนักอย่างอื่นเป็นอาชีพเลี้ยงตัวเองได้
และที่ต้องเก็บเห็ดไปขายเป็นการดิ้นรนกระเสือกกระสนเลี้ยงชีพ
เพราะไม่มีลูกหลานคอยดูแล

ตัวอย่างที่ ๒
ความโศกเกิดจากความรัก
ความกลัวก็เกิดจากความรัก
ผู้ที่ละความรักเสียได้ ก็ไม่โศกไม่กลัว
                                               (พุทธภาษิต)

ขยายความได้ว่า
            เมื่อบุคคลมีความรักต่อสิ่งใด หรือคนใด เขาก็ต้องการให้สิ่งนั้น คนนั้น
คงอยู่กับเขาตลอดไป มนุษย์โดยทั่วไปย่อมจะกลัวว่าสิ่งนั้นๆหรือคนที่ตนรัก
จะสูญหายหรือจากเขาไป ด้วยธรรมดาแล้วทุกสิ่งทุกอย่างย่อมเปลี่ยนแปลง
สูญสลายไปตามสภาพการณ์ ถ้าบุคคลรู้ความจริงข้อนี้
เขาก็จะไม่โศกไม่กลัวต่อไป

ตัวอย่างที่ ๓
          เหล่าแม่ค้าเรือพายร้องขายของ 
ส่งเสียงร้องซื้อได้ไหมจ๊ะ ก่อนจะสาย
ทั้งผักปลาผลไม้สวนล้วนมากมาย    
ดูวุ่นวายสับสนเดินชนกัน

                จากตัวอย่างนี้ สามารถขยายความได้โดยการคาดคะเนอย่างมีเหตุผล
จากความเดิมดังนี้
๑.สถานที่ขายของมีลักษณะเป็นตลาดน้ำ เพราะแม่ค้าพายเรือขายของ

๒.ตลาดขายของเฉพาะช่วงเช้า ไม่ขายตลาดวัน อนุมานได้จากข้อความว่า ก่อนจะสาย
 ซึ่งแสดงว่า พอสายก็หยุดขาย

๓.ข้อความในวรรคที่สาม แสดงว่า การปลูกผัก ผลไม้ ในบริเวณแถบนั้นได้ผลสมบูรณ์
(แม่ค้าน่าจะเก็บผักหรือผลไม้ที่ปลูกในละแวกนั้นมาขาย เพราะต้องมาให้ทันตลาดตอนเช้า    
หากเก็บมาจากที่ไกล ๆ อาจพายเรือไม่ทันเวลา)

๔. แสดงว่าแม่น้ำลำคลองละแวกนั้นยังดีอยู่ ยังไม่เน่าเหม็น ปลาที่อาศัยอยู่ในแม่น้ำ
  ลำคลองยังมีจำนวนมาก เพราะสามารถจับมาขายได้

๕.ผู้คนที่อาศัยอยู่ในละแวกนั้นมีเป็นจำนวนมาก เฉพาะที่มาจ่ายตลาด
  ก็มาถึงขนาดเดินชนกัน

อ้างอิง : https://sites.google.com/site/thaisubjectkruorawan/bth-thi-4-kar-xan-pael-khwam-tikhwam-laea-khyay-khwam   (วันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๖๑)
             https://km.nssc.ac.th/external_links.php?links=5768      (วันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๖๑)

สร้างโดย : นาย ราชัน สนิทปัจโร เลขที่ 5 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2





การฟังและการดูอย่างมีวิจารณญาณ

การฟังและดูอย่างมีวิจารณญาณ


       
ขั้นตอนการฟังและดูอย่างมีวิจารณญาณมีดังนี้
1.  ฟังและดูให้เข้าใจเรื่อง  เมื่อฟังเรื่องใดก็ตามผู้ฟังจะต้องตั้งใจฟังเรื่องนั้นให้เข้าใจตลอดเรื่อง  ให้รู้ว่าเนื้อเรื่องเป็นอย่างไร  มีสาระสำคัญอะไรบ้าง พยายามทำความเข้าใจรายละเอียดทั้งหมด
2.  วิเคราะห์เรื่อง  จะต้องพิจารณาว่าเรื่องเป็นเรื่องประเภทใดเป็นข่าว  บทความ เรื่องสั้น นิทาน นิยาย บทสนทนา สารคดี ละคร และเป็นร้อยแก้วหรือร้อยกรอง เป็นเรื่องจริงหรือแต่งขึ้นต้องวิเคราะห์ลักษณะของตังละคร และกลวิธีในการเสนอสารของผู้ส่งสารให้เข้าใจ
3.  วินิจฉัยเรื่อง  คือการพิจารณาเรื่องที่ฟังว่าเป็นข้อเท็จจริง  ความรู้สึกความคิดเห็นและผู้ส่งสารหรือผู้พูดผู้แสดงมีเจตนาอย่างไรในการพูดการแสดง  อาจจะมีเจตนาที่จะโน้มน้าวในจรรโลงหรือแสดงความคิดเห็น  เป็นเรื่องที่มีเหตุมีผลมีหลักฐานน่าเชื่อถือหรือไม่และมีคุณค่ามีประโยชน์เพียงใด


สารที่ให้ความรู้
         สารที่ให้ความรู้บางครั้งก็เข้าใจง่าย  แต่งบางครั้งที่เป็นเรื่องสลับซับซ้อนก็จะเข้าใจยาก  ต้องใช้การพินิจพิเคราะห์อย่างลึกซึ้ง  ทั้งนี้ย่อมขึ้นกับเรื่องที่เข้าใจง่ายหรือเข้าใจยาก  ผู้รับมีพื้นฐานในเรื่องที่ฟังเพียงใด  ถ้าเป็นข่าวหรือบทความเกี่ยวหับเกษตรกรผู้มีอาชีพเกษตรย่อมเข้าใจง่าย  ถ้าเป็นเรื่องเกี่ยวกับธุรกิจนักธุรกิจก็จะได้เข้าใจง่ายกว่าผู้มีอาชีพเกษตร  และผู้พูดหรือผู้ส่งสารก็มีส่วนสำคัญ  ถ้ามีความรู้ในเรื่องนั้นเป็นอย่างดีรู้วิธีเสนอ ก็จะเข้าใจได้ง่าย
ข้อแนะนำในการรับสารที่ให้ความรู้โดยใช้วิจารณญาณมีดังนี้
1.  เมื่อได้รับสารที่ให้ความรู้เรื่องใดต้องพิจารณาว่าเรื่องนั้นมีคุณค่าหรือมีประโยชน์ควรแก่การใช้วิจารณญาณมากน้อยเพียงใด
2.  ถ้าเรื่องที่ต้องใช้วิจารณญาณไม่ว่าจะเป็นข่าว บทความ สารคดี ข่าว หรือความรู้เรื่องใดก็ตาม  ต้องฟังด้วยความตั้งใจจับประเด็นสำคัญให้ได้  ต้องตีความหรือพินิจพิจารณาว่า ผู้ส่งสารต้องการส่งสารถึงผู้รับคืออะไร  และตรวจสอบหรือเปรียบเทียบกับเพื่อน ๆ ที่ฟังร่วมกันมาว่าพิจารณาได้ตรงกันหรือไม่อย่างไร  หากเห็นว่าการฟังและดูของเราต่างจากเพื่อนด้อยกว่าเพื่อนจะได้ปรับปรุงแก้ไขให้มีปะสิทธิภาพการฟังพัฒนาขึ้น
3.  ฝึกการแยกแยะข้อเท็จจริง ข้อคิดเห็น เจตคติของผู้พูดหรือแสดงที่มีต่อเรื่องที่พุดหรือแสดงและฝึกพิจารณาตัดสินใจว่าสารที่ฟังและดูนั้นเชื่อถือได้หรือไม่  และเชื่อถือได้มากน้อยเพียงใด
4.  ขณะที่ฟังควรบันทึกสาระสำคัญของเรื่องไว้  ตลอดทั้งประเด็นการอภิปรายไว้เพื่อนำไปใช้
5.  ประเมินสารที่ให้ความรู้ว่า  มีความสำคัญมีคุณค่าและประโยชน์มากน้อยเพียงใด มีแง่คิดอะไรบ้าง และผู้ส่งสารมีกลวิธีในการถ่ายทอดที่ดีน่าสนใจอย่างไร
6.  นำคุณค่าประโยชน์ข้อคิด ความรู้และกลวิธีต่าง ๆ ที่ได้จากการฟังไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน การประกอบอาชีพและพัฒนาคุณภาพชีวิต  พัฒนาชุมชนและสังคมได้อย่างเหมาะสม
สารที่โน้มน้าวใจ
สารที่โน้มน้าวใจเป็นสารที่เราพบเห็นประจำจากสื่อมวลชน  จากการบอกเล่าจากปากหนึ่งไปสู่ปากหนึ่ง ซึ่งผู้ส่งสารอาจจะมีจุดมุ่งหมายหลายอย่างทั้งที่ดี และไม่ดี มีประโยชน์หรือให้โทษจุดมุ่งหมายที่ให้ประโยชน์ก็คือ  โน้มน้าวใจให้รักชาติบ้านเมือง  ให้ใช้จ่ายอย่างประหยัด ให้รักษาสิ่งแวดล้อม ให้รักษา
สาธารณสมบัติและประพฤติแต่สิ่งที่ดีงาม  ในทางตรงข้ามผู้ส่งสารอาจจะมีจุดมุ่งหมายให้เกิดความเสียหาย  มุ่งหมายที่จะโฆษณาชวนเชื่อหรือปลุกปั่น ยุยงให้เกิดการแตกแยก  ดังนั้นจึงต้องมีวิจารณญาณ คิดพิจารณาให้ดีกว่าสารนั้นเป็นไปในทางใด
การใช้วิจารณญาณสารโน้มน้าวใจควรปฏิบัติดังนี้
  1.  สารนั้นเรียกร้องความสนใจมากน้อยเพียงมด หรือสร้างความเชื่อถือของผู้พูดมากน้อยเพียงใด
2.  สารที่นำมาเสนอนั้น สนองความต้องการพื้นฐานของผู้ฟังและดุอย่างไรทำให้เกิดความปรารถนาหรือความว้าวุ่นขึ้นในใจมากน้อยเพียงใด
3.  สารได้เสนอแนวทางที่สนองความต้องการของผู้ฟังและดูหรือมีสิ่งใดแสดงความเห็นว่าหากผู้ฟังและดูยอมรับข้อเสนอนั้นแล้วจะได้รับประโยชน์อะไร
4.  สารที่นำมาเสนอนั้นเร้าใจให้เชื่อถือเกี่ยวกับสิ่งใด และต้องการให้คิดหรือปฏิบัติอย่างไรต่อไป
5.  ภาษาที่ใช้ในการโน้มน้าวใจนั้นมีลักษณะทำให้ผู้ฟังเกิดอารมณ์อย่างไรบ้าง

สารที่จรรโลงใจ
        ความจรรโลงใจ  อาจได้จากเพลง ละคร ภาพยนตร์ คำประพันธ์ สุนทรพจน์ บทความบางชนิด คำปราศรัย พระธรรมเทศนา โอวาท ฯลฯ เมื่อได้รับสารดังกล่าวแล้วจะเกิดความรู้สึกสบายใจ สุขใจ คลายเครียด เกิดจินตนาการ มองเห็นภาพและเกิดความซาบซึ้ง  สารจรรโลงใจจะช่วยยกระดับจิตใจมนุษย์ให้สูงขึ้นประณีตขึ้น  ในการฝึกให้มีวิจารณญาณในสารประเภทนี้ควรปฏิบัติดังนี้
1.  ฟังและดูด้วยความตั้งใจ  แต่ไม่เคร่งเครียดทำใจให้สบาย
2.  ทำความเข้าใจในเนื้อหาที่สำคัญ  ใช้จินตนาการไปตามจุดประสงค์ของสารนั้น
3.  ต้องพิจารณาว่าสิ่งฟังและดูให้ความจรรโลงในด้านใด อย่างไรและมากน้อยเพียงใด  หากเรื่องนั้นต้องอาศัยเหตุผล ต้องพิจารณาว่าสมเหตุสมผลหรือไม่
4.  พิจารณาภาษาและการแสดง  เหมาะสมกับรูปแบบเนื้อหาและผู้รับสารหรือไม่เพียงใด

หลักการฟังและการดูอย่างมีวิจารณญาณ


          ๑. พิจารณาว่าผู้พูดหรือผู้แสดงมีจุดมุ่งหมายอย่างไร จุดมุ่งหมายนั้นชัดเจน หรือไม่

          ๒. เรื่องที่ฟังหรือดูนั้นให้ประโยชน์ แง่คิด ก่อให้เกิดความเจริญงอกงาม หรือคิดสร้างสรรค์อย่างไร

          ๓. เนื้อหาของเรื่องนั้นมีความเป็นไปได้มากน้อยเพียงใด

          ๔. เนื้อหาในเรื่องนั้นน่าเชื่อถือหรือไม่ มีหลักฐานอ้างอิงหรือไม่

          ๕. ผู้พูดหรือผู้แสดงมีวิธีการถ่ายทอดความคิดอย่างไร


ประเภทของเรื่องที่ฟังและดู

        การฟังและพูดอย่างมีวิจารณญาณ ผู้ฟังและผู้ดูจะต้องเข้าใจเนื้อหาของเรื่อง ที่ฟังหรือดู หรือเจตนาของผู้ส่งสารโดยศึกษาลักษณะของเรื่องราวประเภทต่าง ๆ ให้เข้าใจ เราอาจ แบ่งประเภทของเรื่องราวต่าง ๆ ได้ ๒ วิธี คือ

แบ่งตามเนื้อหาของเรื่อง ได้แก่

               ๑) เรื่องประเภทข้อเท็จจริง

               ๒) เรื่องประเภทข้อคิดเห็น

               ๓) เรื่องประเภทคำทักทายหรือคำปราศัย

        ๑) เรื่องประเภทข้อเท็จจริง เรื่องประเภทนี้จะกล่าวถึงเรื่องราว ของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งเรื่องราวทางวิทยาศาสตร์ ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ซึ่งเรื่องเหล่านั้นสามารถพิสูจน์ให้เห็นจริงได้ มีหลักฐานอ้างอิงยืนยันได้ อาจเป็นเรื่องราว ที่ผ่านมาแล้ว เรื่องราวที่กำลังเป็นอยู่ หรือเป็นเรื่องที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยมี ผู้นำมาแจ้ง ให้ทราบตามที่รู้มา

        ๒) เรื่องประเภทข้อคิดเห็น เรื่องประเภทนี้เป็นเรื่องที่แสดง ความรู้สึก ความเชื่อหรือแนวคิดที่ผู้พูด มีต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งอาจเป็นเหตุการณ์ บุคคล วัตถุประพฤติการณ์นั้น เป็นความรู้สึก ความคิด ความเชื่อของผู้ที่พูด ซึ่งผู้ฟังหรือผู้ดู อาจเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยก็ได้ ข้อคิดเห็นเหล่านี้อาจเกี่ยวข้องกับข้อเท็จจริง หรือ เป็นข้อคิดเห็นมาขยายข้อเท็จจริงว่า น่าจะเป็น อย่างนั้นอย่างนี้ ดังนั้น ผู้ฟังหรือผู้ดู จะต้องพิจารณาความแตกต่างของเรื่องและแยกให้ออกว่า เรื่องนั้นเป็นข้อเท็จจริงล้วน ๆ หรือแทรกความรู้สึกความเชื่อหรือแนวคิดของผู้พูด

        ๓) เรื่องประเภทคำทักทายหรือคำปราศัย เป็นเรื่องที่แสดงให้เห็น ถึงความสัมพันธ์ของบุคคลในสังคม บอกให้รู้ว่าผู้พูดและผู้ฟังมีความสัมพันธ์ เกี่ยวข้องกันอย่างไร ในฐานะใด เช่น เป็นบิดา มารดากับบุตร ครูกับศิษย์ เพื่อนกับเพื่อน ผู้ใหญ่กับผู้น้อย ในการฟัง อาจพบว่า เรื่องประเภทคำทักทายที่เป็นคำทักทายล้วน ๆ หรืออาจเป็นคำทักทายแล้วตามด้วย เรื่องประเภทข้อเท็จจริงหรือเรื่องประเภทข้อคิดเห็นได้

แบ่งตามเจตนาของผู้พูด ได้แก่

         ๑) เรื่องประเภทให้ความรู้

          ๒) เรื่องประเภทโน้มน้าวใจ

          ๓) เรื่องประเภทให้ความเพลิดเพลิน

        ๑) เรื่องประเภทให้ความรู้ เป็นเรื่องที่มีความสำคัญมาก เพราะช่วยให้ ผู้ฟังผู้ดูเกิดความรู้ความคิด สามารถปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ความรู้ดังกล่าวอาจเป็นความรู้เกี่ยวกับสิ่งรอบ ๆ ตัวทั้งใกล้และไกลตัว

        ๒) เรื่องประเภทโน้มน้าวใจ เป็นเรื่องที่ผู้พูดมีเจตนาให้ผู้ฟังเชื่อ หรือคล้อยตามข้อความในเรื่องนั้น ๆ เรื่องประเภทนี้มีข้อความที่โน้มน้าวใจผู้ฟัง ให้เกิดอารมณ์ ความรู้สึกหรือความคิดเห็นเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับผู้พูด เช่น การโฆษณาสินค้า โฆษณาหาเสียง คำชี้แจง ข้อความปลุกใจต่าง ๆ 

        ๓) เรื่องประเภทให้ความเพลิดเพลิน เป็นเรื่องที่ผู้พูดมีเจตนา ให้ผู้ฟังหรือผู้ดูเกิดอารมณ์สนุกสนานเพลิดเพลิน ผ่อนคลายความเครียดจากการงาน หรือ กิจกรรมอื่น ๆ เรื่องประเภทนี้ได้แก่ นิยาย นิทาน เรื่องเล่า เรื่องตลกชวนขัน ภาพยนตร์ ละคร ฯลฯ อย่างไรก็ตามเรื่องทั้ง ๓ ประเภทนี้ อาจมาในรูปคละเคล้ากัน คือให้ทั้งความรู้ ความ เพลิดเพลินและเป็นเรื่องที่โน้มน้าวใจด้วยก็ได้ ดังนั้นผู้ฟังหรือผู้ดูจึงต้องศึกษาข้อความและรู้จัก แยกข้อความในเรื่องว่าตอนใดเป็นเรื่องประเภทใด

ขั้นตอนในการฟังและดูอย่างมีวิจารณญาณ 


        การรู้จักแยกประเภทของเรื่องที่ฟังและดูเป็นการพิจารณาเรื่องในเบื้องต้น ส่วนการฟัง อย่างมีวิจารณญาณ จะต้องมีขั้นตอนรายละเอียดที่ต้องพิจารณาลึกซึ้งขึ้นไปอีกคือ เมื่อผู้ฟังหรือดู ได้ฟังหรือดูและเข้าใจในเรื่องนั้น ๆ แล้วในขั้นวิจารณญาณจะต้องมีขั้นตอน ดังนี้คือ

               วิเคราะห์เรื่อง โดยการพิจารณาว่าเรื่องนั้นจัดอยู่ในเรื่องประเภทใดเช่น เป็นบทร้อยแก้ว ร้อยกรอง นิยาย นิทาน บทความ ฯลฯ เมื่อรู้ประเภทแล้วก็ต้องหาคำตอบ ในรายละเอียดว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร มีรายละเอียดอะไรเป็นส่วนประกอบ และผู้พูด ผู้แสดงมีกลวิธีในการสื่อสารอย่างไร

               วินิจฉัย คือพิจารณาได้ว่าเรื่องนั้นเป็นเรื่องประเภทข้อเท็จจริงหรือ ข้อคิดเห็นหรือเป็นการแสดงทรรศนะ อารมณ์ ความรู้สึกและผู้พูดมีเจตนาอย่างไรในการพูด หรือแสดงรวมทั้งแง่คิดต่าง ๆ และจับใจความสำคัญของสารที่สำคัญที่สุดและใจความรองได้

               ประเมินค่าของเรื่อง ว่าเรื่องนั้นให้ประโยชน์ ให้คุณค่า แง่คิดมากน้อยเพียงใด

               การนำไปใช้ คือ เมื่อสรุปประเด็นและเข้าใจคุณค่าของเรื่องแล้วขั้นตอน สุดท้ายคือสามารถนำประเด็นหรือข้อความของเรื่องที่มีประโยชน์ไปใช้ให้เหมาะสม
กับเหตุการณ์และบุคคลต่อไปอย่างไร

สรุปหลักการฟังและดูอย่างมีวิจารณญาณ ได้ดังนี้

               ๑. เมื่อฟังแล้วพิจารณาโดยทันทีว่าเรื่องนั้นเป็นเรื่องประเภทให้ความรู้ จรรโลงใจ หรือโน้มน้าวใจ

                ๒. เรื่องประเภทให้ความรู้หรือโน้มน้าวใจต้องใช้วิจารณญาณเพื่อแยกให้ได้ว่า เรื่องที่รับฟัง หรือดูนั้นเป็นข้อเท็จจริงหรือข้อคิดเห็น

               ๓. การฟังที่ต้องใช้วิจารณญาณนั้น ผู้ฟังต้องตั้งใจฟังเรื่องราวและจับประเด็นสำคัญ ของเรื่องให้ได้ตรวจสอบเปรียบเทียบประเด็นสำคัญของเรื่องที่ตนเข้าใจโดยเทียบเคียงกับ ความเข้าใจของบุคคลอื่น เพื่อหาข้อที่ตรงกันหรือแตกต่างกัน หรือเพื่อเปรียบเทียบว่า ใครฟังหรือดูได้ลึกซึ้งและตีความได้ชัดเจนกว่ากัน และหากพบว่าตนเองยังบกพร่อง ในสิ่งใด ก็พยายามฝึกฝนสิ่งนั้นให้มากยิ่งขึ้น

              ๔. พิจารณาถึงเจตนาของผู้พูด โดยไม่มีอคติลำเอียง เพื่อประกอบการพิจารณา ตัดสินใจ ว่าสารนั้นควรเชื่อถือได้เพียงใด

              ๕. บันทึกประเด็นสำคัญของเรื่องราวไว้ เพื่อกันผิดพลาดหลงลืม

              ๖. ประเมินค่าของเรื่องนั้น ๆ ว่ามีความสำคัญหรือให้ประโยชน์เพียงใด มีแง่คิด ให้คุณค่า เพียงใด นำประโยชน์นั้นไปใช้ได้หรือไม่ทั้งหมดเป็นแนวทางเบื้องต้นในการใช้วิจารณญาณในการฟังหรือดู ส่วนข้อปลีกย่อย ในการพิจารณาเรื่องที่ละเอียดลึกซึ้งขึ้น เช่น การใช้สำนวนของผู้พูดการใช้ถ้อยคำและข้อความ ที่น่าจดจำหรืออื่น ๆ ที่ยากมากขึ้น ถ้าผู้เรียนได้ฝึกฝนการใช้วิจารณญาณในการฟัง จนเกิดความ เคยชินแล้ว ย่อมสามารถกระทำได้ดีขึ้นโดยลำดับ

สรุป

               การฟังและการดูเป็นการรับสารที่เราใช้ในชีวิตประจำวันเสมอผู้ที่จะฟังและดู ได้อย่างมีประสิทธิภาพจะต้องฝึกฝนตนเองให้เป็นคนที่ฟังและดูเป็น คือฟังและดูอย่างมี หลักการ มีจุดมุ่งหมาย รู้จักวิเคราะห์ สังเคราะห์และประเมินค่าเรื่องที่ฟังและดู สามารถ แสดงทัศนะในเรื่องที่ฟังและดูได้ ฟังได้อย่างมีวิจารณญาณ สามารถแยกแยะเรื่องที่ฟัง ได้ถู
กต้อง
อ้างอิง:https://sites.google.com/a/nonghanwit.ac.th/khrukhi-fd-classroom/hxngreiyn-phasa-thiy/wicha-phun-than/phasa-thiy-phun-than-m-5/hlak-phasa-thiy-m-5/kar-fang-laea-du-xyang-mi-wi-can-yan 
น.ส.นิลาวรรณ อาทรกิจ เลขที่ ๒๘

วันจันทร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2561

พระมหาชนก

 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระองค์ทรงเริ่มค้นคว้าเรื่อง พระมหาชนก จากพระไตรปิฎกในปี พ.ศ.๒๕๒๐ ต่อจากที่ได้ทรงสดับพระธรรมเทศนาของสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (วิน ธมฺมสาโร มหาเถร) แห่งวัดราชผาติการาม เรื่อง พระมหาชนกเสด็จทอดพระเนตรพระราชอุทยาน ในกรุงมิถิลา ที่แสดงให้เห็นถึงการบำเพ็ญวิริยบารมี ซึ่งมีคติที่ชัดเจน และน่าจะเป็นประโยชน์แก่ชนทุกหมู่เหล่า จึงทรงเก็บใจความสำคัญของเรื่องมาทรงพระราชนิพนธ์เป็นสำนวนที่ทันสมัย ดัดแปลงแก้ไขเรื่องตอนท้ายในคติธรรมเกี่ยวกับการศึกษาเพิ่มเติม ซึ่งได้กลายเป็นหนังสือที่ทรงคุณค่า และได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง
พระราชนิพนธ์พระมหาชนกมีเนื้อเรื่องกล่าวถึง พระเจ้ามหาชนกกษัตริย์แห่งกรุงมิถิลา มีพระราชโอรสสองพระองค์ พระนามว่า อริฏฐชนก และ โปลชนก เมื่อสวรรคตแล้ว พระอริฏฐชนกได้ครองราชสมบัติ และทรงตั้งพระโปลชนกเป็นอุปราช อมาตย์ผู้ใกล้ชิดได้กราบทูลใส่ร้ายว่าพระอุปราชโปลชนกคิดไม่ซื่อ พระอริฏฐชนกก็หลงเชื่อ สั่งจองจำพระโปลชนก แต่พระโปลชนกตั้งจิตอธิษฐาน และหลบหนีไปได้ ภายหลังได้รวบรวมพลมาท้ารบ และเอาชนะได้ในที่สุด พระอริฏฐชนกสิ้นพระชนม์ในที่รบ

อ้างอิง
https://men.mthai.com/infocus/152357.html

นางสาว อรญา นิยมเดชา เลขที่16

ความสัมพันธ์ระหว่างความคิดกับภาษา

               ความสัมพันธ์ระหว่าง ความคิดกับภาษา

การคิดกับความคิด
      
     การคิด หมายถึง กระบวนการทำงานของสมองหรือจิตใจมนุษย์ขณะพยายามหาคำตอบหรือทางออก เกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง 
ความคิด คือ ผลของการคิด 
          
        คิดให้วัฒนะ หมายถึง ไปคิดในทางที่เป็นคุณประโยชน์
        
        คิดให้หายนะ หมายถึง คิดไปในทางที่เป็นโทษ

จุดมุ่งหมายสูงสุดของการพัฒนาความคิด

       คิดไปในทางวัฒนะ ผลของการคิดจะก่อเกิดประโยชน์แก่ส่วนรวม เมื่อความคิดเปลี่ยนเป็นการกระทำ ผลของการกระทำ  จะก่อให้เกิดประโยชน์สุข 


ภาษาพัฒนาความคิด-ความคิดพัฒนาภาษา
ภาษาเป็นเครื่องมือในการคิด
ภาษาช่วยอธิบายความคิด หรือ  ช่วยแสดงความคิดจึงมีประโยชน์ คือ
๑. ช่วยให้ผู้อื่นเข้าใจ
๒. ช่วยให้ผู้ใช้ภาษาได้ขัดเกลาความคิดของตนให้พัฒนายิ่งขึ้น
ดังนั้น ผู้ที่มีสมรรถภาพในการใช้ภาษาย่อมจะมีสมรรถภาพสูงในการคิด และผู้มีสมรรถภาพสูงในการคิดย่อมใช้ภาษาได้ดีเป็นผลสืบเนื่องกัน ในกรณีที่ต้องใช้ความคิดร่วมกันหลายคนจึงต้องแสดงความคิดโดยการพูดออกมาดัง ๆ บทบาทของภาษาก็จะยิ่งเด่นชัดขึ้น
วิธีคิด
วิธีคิดวิเคราะห์ คือ การพิจารณาสิ่งใดสิ่งหนึ่งแยกออกเป็นส่วนๆ เพื่อทำความเข้าใจแต่ละส่วนให้เข้าใจแจ่มแจ้ง และพิจารณาว่าแต่ละส่วนมีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันอย่างไร
วิธีคิดดังนี้  คือ
๑.กำหนดขอบเขตหรือนิยามสิ่งที่จะวิเคราะห์
๒.กำหนดจุดมุ่งหมายในการวิเคราะห์ให้ชัดเจน
๓.พิจารณาหลักความรู้ที่จะใช้ในการวิเคราะห์ว่าจะให้หลักใด
๔.ใช้หลักความรู้ให้ตรงกับเรื่องที่วิเคราะห์ รู้ว่าจะวิเคราะห์อย่างไร
๕.สรุปและรายงานผล
วิธีคิดสังเคราะห์
คือ การรวมส่วนต่างๆให้ประกอบกันเข้าด้วยวิธีที่เหมาะสม เกิดเป็นสิ่งใหม่ที่จะนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป
วิธีคิดดังนี้  คือ
๑.กำหนดจุดมุ่งหมายในการสังเคราะห์ให้ชัดเจน
๒.หาความรู้เกี่ยวกับหลักการที่จะนำมาใช้เป็นหลักในการสังเคราะห์
๓.ทำความเข้าใจส่วนต่างๆที่จะนำมาใช้ประกอบในการสังเคราะห์
๔.เลือกหลักความรู้ใช้ให้เหมาะแก่กรณี
๕.ทบทวนผลของการสังเคราะห์ว่าสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายเพียงใด
วิธีคิดประเมินค่า
    คือ การใช้ดุลพินิจตัดสินคุณค่าของสิ่งใดสิ่งหนึ่งในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง เช่น ดี-เลว, เป็นคุณ-เป็นโทษ,คุ้ม-ไม่คุ้ม มีประโยชน์-ไม่มีประโยชน์
วิธีคิดดังนี้  คือ
๑.ทำความเข้าใจให้รู้จักสิ่งที่จะประเมินให้ชัดเจนก่อน คือ วิเคราะห์และสังเคราะห์ให้ดี
๒.พิจารณาเกณฑ์ที่จะใช้ตัดสินคุณค่า ระบุเกณฑ์ให้ชัดเจน
๓.ถ้าจะประเมินโดยเปรียบเทียบกับหลักฐานอื่นจะต้องดูให้เหมาะสมและกล่าวถึงหลักฐานให้ชัดเจน
วิธีคิดแก้ปัญหา
ปัญหา  คือ สภาพการณ์ที่ทำให้เกิดความยุ่งยาก ซึ่งมนุษย์ประสบอยู่มากมาย การแก้ปัญหาเป็นจะช่วยให้เกิดประโยชน์ทั้งต่อตนเองและส่วนรวม
ประเภทของปัญหา
๑.ปัญหาเฉพาะบุคคล
๒.ปัญหาเฉพาะกลุ่ม
๓.ปัญหาสาธารณะ/ปัญหาสังคม
เป้าหมายในการแก้ปัญหา
     การปลอดพ้นอย่างถาวรจากสภาพที่ไม่พึงประสงค์
การเลือกวิถีทางการแก้ปัญหา
วิถีทางการแก้ปัญหา คือ วิธีการที่จะนำไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ
วิธีทางการแก้ปัญหามีหลายวิธีแตกต่างกันไปการเลือกวิถีทางแก้ปัญหาควรเลือกวิธีที่ดีที่สุด สามารถปฏิบัติได้  มีอุปสรรคน้อยที่สุด และนำไปสู่จุดมุ่งหมายที่เราต้องการได้
หลักการคิดเพื่อแก้ปัญหา
๑. ทำความเข้าใจลักษณะของปัญหา และวางขอบเขตของปัญหา
๒. วิเคราะห์ประเภทของปัญหา สาเหตุ และสภาพแวดล้อมของปัญหา เพื่อให้เข้าใจปัญหา 
๓. วางเป้าหมายในการแก้ปัญหาให้แน่ชัด
๔.คิดหาวิธีทางแก้ปัญหาด้วยวิธีต่าง ๆ โดยใช้ระเบียบวิธีคิดเชิงสังเคราะห์
๕. ประเมินคุณค่าวิธีทางแก้ปัญหาที่ได้มา แล้วเลือกวิธีทางที่ดีที่สุด โดยใช้ระเบียบวิธีคิดเชิงประเมินค่า
เหตุผลกับภาษา
เหตุผล คือ ความคิดสำคัญซึ่งจะเป็นหลัก  เป็นเกณฑ์ หรือเป็นข้อเท็จจริง  ซึ่งทำหน้าที่รองรับข้อสรุป ความคิดหลัก จะทำให้ข้อสรุปนั้นหนักแน่น และน่าเชื่อถือ
ข้อสรุป คือ ข้อวินิจฉัย ข้อตัดสินใจ หรือข้อยุติเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ข้อสรุปที่มีเหตุผลรองรับจะมีความหนักแน่น และน่าเชื่อถือ
โครงสร้างของการแสดงเหตุผล
๑.เหตุผล หรือข้อสนับสนุน 
๒.ข้อสรุป
ตัวอย่าง๑  ฉันไม่ชอบดูมวย  เพราะไม่อยากเห็นความรุนแรงไม่ชอบที่จะเห็นใครเจ็บปวด                                                           

เหตุผล ไม่อยากเห็นความรุนแรง ไม่ชอบที่จะเห็นใครเจ็บปวด        

ข้อสรุป ฉันไม่ชอบดูมวย
ตัวอย่าง๒  ฉันเลี้ยงเขามาตั้งแต่เล็ก ฉันจะไม่ยอมให้ใครมาพรากเขาไปจากฉันได้                                                                                           

เหตุผล ฉันเลี้ยงเขามาตั้งแต่เล็ก                                                       

ข้อสรุป ฉันจะไม่ยอมให้ใครมาพรากเขาไปจากฉันได้
ตัวอย่าง๓  ในปัจจุบันฝนตกน้อย  เพราะป่าไม้ถูกทำลายไปมาก         
เหตุผล ป่าไม้ถูกทำลายไปมาก                                                          

ข้อสรุป ในปัจจุบันฝนตกน้อย

ภาษาที่ใช้ในการแสดงเหตุผล

๑. ใช้สันธาน ได้แก่ จึง, ดังนั้น, ดังนั้น...จึง, เพราะ...จึง, เพราะว่า..., เมื่อ...จึง, เพราะฉะนั้น..., โดยที่...จึง, ด้วย... เป็นต้น
๒. ในการแสดงเหตุผล บางครั้งไม่ต้องใช้คำสันธาน เพียงแต่เรียบเรียงข้อความโดยวางส่วนที่เป็นเหตุผลและส่วนที่เป็นข้อสรุปไว้ให้เหมาะสม 
๓. ในการแสดงเหตุผล อาจใช้กลุ่มคำโดยชัดแจ้งเพื่อบ่งชี้ว่าเป็นเหตุผล หรือเป็นข้อสรุป
๔. ในการใช้ภาษาแสดงเหตุผล หากผู้ส่งสารต้องการใช้เหตุผลหลาย ๆ ข้อประกอบกัน ต้องแยกเหตุผลเป็นข้อ ๆ ไป เพื่อช่วยให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น
เหตุผลและการอนุมาน
การอนุมาน คือ กระบวนการคิดในการหาข้อสรุปจากเหตุผลที่มีอยู่ และเมื่อใช้คำว่า “อนุมาน”เป็นคำกริยา จึงหมายถึง ใช้ความคิดเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อสรุปจากหลักทั่วไป กฎเกณฑ์หรือข้อเท็จจริงที่มีอยู่
การอนุมานมีอยู่ ๒ วิธี
๑.การอนุมานด้วย วิธีนิรนัย
๒.การอนุมานด้วย วิธีอุปนัย                                                                                                การอนุมานจาก เหตุและผลที่สัมพันธ์กัน
การอนุมานด้วย วิธีนิรนัย                                                                    
คือ การแสดงเหตุผลจากส่วนรวมไปหาส่วนย่อย หรือการอนุมานจากหลักความจริงทั่วไปกับกรณีเฉพาะกรณีหนึ่งไปสู่กรณีหนึ่ง ถ้านิรนัยครบ ๓ ขั้นจะเป็นดังนี้  คือ
๑.หลักความจริงทั่วไป : มนุษย์ทุกคนต้องตาย                                                                            (ข้อสนับสนุน-ข้อเท็จจริง)      
๒.กรณีเฉพาะกรณีหนึ่ง : ฉันเป็นมนุษย                                                                                          (ข้อสนับสนุน)
๓.กรณีเฉพาะอีกกรณีหนึ่ง : ฉันก็ตองตาย                                                                                            (ข้อสรุป) 
ตัวอย่าง๑  ความกตัญญูกตเวทีเป็นเครื่องหมายของคนดี  สุรชัยเป็นคนที่กตัญญูเป็นอย่างยิ่ง จึงกล่าวได้ว่าสุรชัยเป็นคนดี                          

๑.หลักความจริงทั่วไป : ความกตัญญูกตเวทีเป็นเครื่องหมายของคนดี                                      (ข้อสนับสนุน-ข้อเท็จจริง)                                                                     ๒.กรณีเฉพาะกรณีหนึ่ง : สุรชัยเป็นคนที่กตัญญูอย่างยิ่ง                                                              (ข้อสนับสนุน)         

๓.กรณีเฉพาะอีกกรณีหนึ่ง : สุรชัยเป็นคนดี                                                                                        (ข้อสรุป)    
ตัวอย่าง๒  คนเราเกิดมาย่อมมีรัก โลภ โกรธ หลง โนรีก็เป็นมนุษย์คนหนึ่งเธอรู้สึกทนไม่ไหวที่เห็นสามีเดินควงคู่อยู่กับผู้หญิงคนอื่น เธอโกรธเค้ามากที่สุด                                                                                  

๑.หลักความจริงทั่วไป : คนเราเกิดมาย่อมมีรัก โลภ โกรธ หลง
(ข้อสนับสนุน-ข้อเท็จจริง)                                                                              


๒.กรณีเฉพาะกรณีหนึ่ง : โนรีก็เป็นมนุษย์คนหนึ่ง เธอรู้สึกทนไม่ไหวที่เห็นสามีเดินควงคู่อยู่กับผู้หญิงคนอื่น
(ข้อสนับสนุน)     

๓.กรณีเฉพาะอีกกรณีหนึ่ง : เธอโกรธเค้ามากที่สุด                                            (ข้อสรุป)

การอนุมานด้วย วิธีอุปนัย

คือ การแสดงเหตุผลจากส่วนย่อยไปหาส่วนรวม วิธีนี้ใช้ข้อมูลและข้อเท็จจริงต่าง ๆ เป็นหลักฐานหรือข้อสนับสนุน แต่ข้อมูลหรือข้อเท็จจริงมีอยู่จำกัดข้อสรุปด้วยวิธีอุปนัยจึงต่างจากวิธีนิรนัยประการสำคัญ คือ

ข้อสรุปด้วยวิธีนิรนัย  : “ต้องเป็นเช่นนั้น” หรือ “ย่อมเป็นเช่นนั้น”

ข้อสรุปด้วยวิธีอุปนัย  : “น่าจะเป็นเช่นนั้น” หรือ “ควรจะเป็นเช่นนั้น”
การอนุมานจาก เหตุและผลที่สัมพันธ์กัน
คือ การอนุมานด้วยวิธีนี้  จัดว่าเป็นการอนุมานด้วย วิธีอุปนัย เพราะข้อสรุปที่ได้อาจไม่ใช่ข้อสรุปที่ต้องเป็นจริงเสมอไป แบ่งเป็น ๓ ประเภท คือ
๑.การอนุมานจาก เหตุไปหาผล
๒.การอนุมานจาก ผลไปหาเหตุ
๓.การอนุมานจาก ผลไปหาผล
๑.ในระยะข้างหน้าน้ำทะเลจะขึ้นสูงเร็วกว่าที่ผ่านมา เพราะโลกจะร้อนขึ้น น้ำทะเลจะพองขึ้นและน้ำแข็งจากทวีปแอนตาร์กติกจะละลายลงมา                          ๑.การอนุมานจากผลลัพธ์ไปหาสาเหตุ
๒.เมื่อเราหายใจเอาฝุ่นละอองเข้าไปมากๆ ฝุ่นละอองก็จะเข้าไปเกาะที่ถุงลมปอดอย่างหนาแน่น ซึ่งทำให้ปอดไม่สามารถทำงานได้ จึงทำให้เป็นโรคปอดหิน
๒.การอนุมานจากสาเหตุไปหาผลลัพธ์
๓.ในสังคมปัจจุบัน เราก็ต่างยอมรับกันว่า เงินมีความสำคัญมาก เพราะเราสามารถใช้เงินเป็นเครื่องมือแลกเปลี่ยนซื้อหาสรรพสิ่งได้อย่างสะดวก และง่ายดาย 
๓.การอนุมานจากผลลัพธ์ไปหาผลลัพธ์
๔. สมหวังไม่เคยอ่านหนังสือมาทั้งปีก็ไม่แปลกเลยที่การสอบของเขาไม่สมหวัง
๔.การอนุมานจากสาเหตุไปหาผลลัพธ์
๕. ภาษาไทยวันนี้น่าจะเปรียบได้กับคนไทยลูกครึ่งฝรั่ง โดยเฉพาะฝรั่งอเมริกัน คำฝรั่งสนิทสนมกลมเกลียวไปกับคำไทย คนไทยหมดปัญญาหาคำไทยมาใช้แทนคำฝรั่ง (คำไทยในที่นี้รวมทั้งคำแขก คำเขมร) โดยเฉพาะในเรื่องวิชาการสมัยใหม่ 
๕.การอนุมานจากสาเหตุไปหาผลลัพธ์
๖. ขยะมูลฝอยเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สำคัญประการหนึ่งของประเทศไทย เพราะยังไม่สามารถเก็บขยะมูลฝอยต่างๆไปกำจัดได้หมด มีขยะมูลฝอยตกค้าง ก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมและเกิดผลกระทบต่อสุขภาพผู้คน  
๖.การอนุมานจากผลลัพธ์ไปหาผลลัพธ์
ตัวอย่าง๓  ในปัจจุบันฝนตกน้อย  เพราะป่าไม้ถูกทำลายไปมาก        เหตุผล  ป่าไม้ถูกทำลายไปมาก                                     
ข้อสรุป  ในปัจจุบันฝนตกน้อย
๑.การอนุมานจากสาเหตุไปหาผลลัพธ์
   ๑. ในปัจจุบันนี้จะพบว่าชาวต่างประเทศนิยมมาท่องเที่ยวเมืองไทยกันมากยิ่งขึ้น  จึงทำให้รัฐมีรายได้เป็นอันดับ ๑ ของรายได้ทั้งหมด
๒.การอนุมานจากผลลัพธ์ไปหาสาเหตุ   
   ๒. นักท่องเที่ยวและประชาชนทั่วไปต้องไม่ทิ้งขยะและเศษสิ่งของลงในท้องทะเล เพราะธรรมชาติจะสวยงามได้ตลอดไปตราบที่เราไม่เข้าไปทำลาย
๓.การอนุมานจากสาเหตุไปหาผลลัพธ์
   ๓. เพราะว่าแร่เป็นทรัพยากรที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติที่มีความสำคัญและมีบทบาทที่สนองความต้องการทางด้านปัจจัยต่างๆของประชากร เพราะฉะนั้นเราจึงควรใช้แร่ให้คุมค่าและหามาตรการอนุรักษ์แร่ธาตุเหล่านั้น
การแสดงทรรศนะ
ทรรศนะ คือ ความคิดเห็นที่ประกอบด้วยเหตุผล
โครงสร้างของการแสดงทรรศนะ
๑.ที่มา                                                                                                                  
- เรื่องราวอันทำให้เกิดการแสดงทรรศนะ                                                                - ที่มาของทรรศนะจะชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นที่ต้องแสดงทรรศนะ                           - ช่วยให้ผู้รับสารเกิดความเข้าใจและพร้อมที่จะรับฟังทรรศนะนั้นต่อไป    
๒.ข้อสนับสนุน                                                                                                                - ข้อเท็จจริง หลักการ  รวมทั้งทรรศนะและมติของผู้อื่นที่ผู้แสดงทรรศนะนำมาใช้                                                                                                                                - เพื่อประกอบเป็นเหตุผลสนับสนุนข้อสรุปของตน   
๓.ข้อสรุป                                                                                                                       - สารที่สำคัญที่สุดของทรรศนะ                                                                                  - อาจเป็นข้อเสนอแนะ  ข้อวินิจฉัย  ข้อสันนิษฐาน  หรือการประเมินค่าเพื่อให้ผู้อื่นพิจารณายอมรับ  หรือนำไปปฏิบัติ                      
ประเภทของทรรศนะ      
ทรรศนะเชิงข้อเท็จจริง                                                                           

  เป็นทรรศนะที่กล่าวถึงเรื่องที่เกิดขึ้นแล้ว แต่ยังเป็นเรื่องที่คนใน                          สังคมยังถกเถียงกันอยู่ การแสดงทัศนะจึงเป็นเพียงข้อสันนิษฐาน จะน่าเชื่อถือมากน้อยนั้นขึ้นอยู่กับเหตุผลที่นำมาเสนอเป็นสำคัญ  
ทรรศนะเชิงคุณค่า                                                                                                      
  เป็นทรรศนะที่ประเมินว่า สิ่งใดดี สิ่งใดด้อย สิ่งใดเป็นประโยชน์หรือเป็นโทษ สิ่งใดเหมาะสมหรือไม่เหมาะสม สิ่งเหล่านั้นอาจเป็นวัตถุ บุคคล กิจกรรม โครงการ วิธีการ นโยบาย หรือแม้แต่ทรรศนะก็ได้ ซึ่งอาจประเมินได้โดยการเปรียบเทียบกับสิ่งที่อยู่ในประเภทเดียวกัน หรือตามเกณฑ์ที่กำหนดขึ้น       
ทรรศนะเชิงนโยบาย                                                                                      

เป็นทรรศนะที่บ่งชี้ว่าควรทำอะไร อย่างไร ต่อไปในอนาคต หรือควรจะปรับปรุแก้ไขสิ่งใดไปในทางใด นโยบายมีได้หลายระดับ ตั้งแต่ระดับบุคคล กลุ่มบุคคล องค์กร สถาบัน ประเทศชาติ
ลักษณะภาษาที่ใช้แสดงทรรศนะ

๑. ใช้คำกริยาหรือกลุ่มคำกริยาที่ชี้ชัดว่าเป็นการแสดงทรรศนะ เช่น ผมคิดว่า....   ดิฉันเข้าใจว่า...........    ผมขอเสนอว่า...........

๒. ใช้คำหรือกลุ่มคำกริยาช่วยในข้อสรุป เพื่อชี้ให้เห็นว่า เป็นการแสดงทรรศนะ เช่น น่า  น่าจะ  คง  ควรจะ  สมควรจะ

๓. ใช้กลุ่มคำขยาย ที่สื่อความหมายไปในทางแสดงทรรศนะ สื่อความหมายในเชิงแสดงความเชื่อมั่น คาดคะเน หรือประเมิน 

ปัจจัยที่ส่งเสริมการแสดงทรรศนะ

๑. ปัจจัยภายนอก คือ บรรยากาศสิ่งแวดล้อม

๒. ปัจจัยภายใน เป็นปัจจัยที่เกี่ยวกับผู้แสดงทรรศนะเอง

การประเมินทรรศนะ

๑. ประโยชน์และลักษณะสร้างสรรค์ 

๒. ทรรศนะที่ดีจะต้องมีความน่าเชื่อถือ และความสมเหตุสมผล 

๓. ความเหมาะสมกับผู้รับสารและกาลเทศะ 

๔. การใช้ภาษา 

ใช้ภาษาในการโต้แย้ง

การโต้แย้ง คือ การแสดงทรรศนะที่แตกต่างกันระหว่างบุคคล ๒ ฝ่าย โดยแต่ละฝ่ายพยายามใช้ข้อมูล สถิติ หลักฐาน เพื่อสนับสนุนทรรศนะของตนและคัดค้านทรรศนะของอีกฝ่ายหนึ่ง การโต้แย้งอาจยุติลงโดยการตัดสิน หรือการวินิจฉัยของบุคคลที่โต้แย้งกันนั่นเอง

โครงสร้างของการโต้แย้ง

๑.เหตุผล  

๒.ข้อสรุป

กระบวนการโต้แย้ง

. การตั้งประเด็นในการโต้แย้ง
ประเด็นในการโต้แย้ง หมายถึง คำถามที่ก่อให้เกิดการโต้แย้งกัน โดยคู่กรณีจะเสนอคำตอบต่อคำถามนั้นไปตามทรรศนะของตน

๒. การนิยามคำหรือกลุ่มคำสำคัญที่อยู่ในประเด็นของการโต้แย้ง

๓. การค้นหาและเรียบเรียงข้อสนับสนุนทรรศนะของตน

๔. การชี้ให้เห็นจุดอ่อนและความผิดพลาดของทรรศนะ- ฝ่ายตรงกันข้าม
ใช้ภาษาเพื่อโน้มน้าวใจ

การโน้มน้าวใจ 
หมายถึง    การกระทำโดยพยายามเปลี่ยนสภาพเดิมของสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้เป็นไปตามทิศทางที่ผู้กระทำต้องการ

สารโน้มน้าวใจ  
หมายถึง   สารที่มุ่งให้ผู้รับสารเกิดความเปลี่ยนแปลง อาจเป็นด้านความรู้สึก ความเชื่อ ค่านิยมหรือความรู้ต่างๆ ก็ได้

สารโน้มน้าวใจ  สามารถพบได้ทุกหนทุกแห่ง  ทั้งในครอบครัว  ในสถาบันการศึกษา  ในการซื้อขาย  และในสถาบันการเมือง

หลักสำคัญของการโน้มน้าวใจ
                                                                                                                                         หลักสำคัญของการโน้มน้าวใจ คือ การปลุกเร้าให้ผู้รับสารมีความรู้สึกว่า  ถ้าหากตนปรับเปลี่ยนความคิดและการกระทำไปตามแนวทางนั้นแล้ว  ก็จะได้รับผลที่ตอบสนองความต้องการของตน

กลวิธีในการโน้มน้าวใจ

มีดังนี้ ๑. แสดงให้เห็นถึงความน่าเชื่อถือของบุคคลผู้โน้มน้าวใจ
          ๒. แสดงให้เห็นว่าเหตุผลนั้นหนักแน่น  ควรแก่การยอมรับ
          ๓. แสดงให้เห็นถึงความรู้สึกที่ร่วมกันระหว่างผู้รับและผู้ส่งสาร 
          ๔. แสดงให้เห็นทางเลือกทั้งด้านดีและด้านเสีย
          ๕. พยามทำให้เกิดความหรรษาหรืออารมณ์ขันบ้าง
          ๖. เร้าให้เกิดอารมณ์อย่างแรงกล้า

การพิจารณาสารโน้มน้าวใจลักษณะต่างๆ

๑. คำเชิญชวน 
พิจารณาจากการบอกจุดประสงค์ที่ชัดเจน  ชี้ให้เห็นประโยชน์แก่ส่วนรวม  รวมทั้งบอกวิธีปฏิบัติด้วย

๒. โฆษณาสินค้าหรือบริการ
สารประเภทนี้มักใช้ถ้อยคำแปลกใหม่  เป็นประโยคหรือวลีสั้นๆ  ให้รายละเอียดที่เกินจริง  มุ่งสนองความต้องการพื้นฐานของมนุษย์  
                      
๓. โฆษณาชวนเชื่อ 
มีทั้งทางการค้าและการเมือง  ใช้วิธีการสรรหาคำมาแทน  (ตราชื่อ)
ใช้ถ้อยคำหรูหรา  อ้างบุคคลหรือบุคคลส่วนใหญ่  อ้างแต่ประโยชน์ตน

สรุปสารโน้มน้าวใจ

สรุปได้ว่า
๑.การโน้มน้าวใจไม่ใช่การทำให้เปลี่ยนความรู้สึกนึกคิดและพฤติกรรมด้วยวิธีขู่เข็ญ  คุกคาม  หรือหลอกลวง
  
๒. การโน้มน้าวใจไม่ใช่พฤติกรรมดีหรือเลว  แต่อยู่กลางๆ ขึ้นอยู่กับเจตนาที่อยู่เบื้องหลังว่าดีหรือร้าย

๓. การโน้มน้าวใจเป็นการกระทำที่มีจุดมุ่งหมายเสมอ  ใช้กลวิธี
ทำให้เกิดการยอมรับและการเปลี่ยนพฤติกรรม  ทัศนคติ  ความเชื่อ  ค่านิยมและการกระทำด้วย


อ้างอิง:
http://elsd.ssru.ac.th/bualak_na/pluginfile.php/49/mod_page/content
(วันที่ ๐ ธันวาคม ๒๕๖๑)                                                             
นางสาว สุวรรณวารี ผลพิบูลย์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕/๒ เลขที่ ๓๔

นิทานพื้นบ้าน