วันอาทิตย์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2561

คัมภีร์ฉันทศาสตร์ แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์

ประวัติผู้ประพันธ์
พระยาพิศณุประสาทเวช (คง  ถาวรเวช)
            -  เกิดเมื่อ พ.ศ. 2396
            -  ถึงแก่อนิจกรรม พ.ศ. 2457
            -  แพทย์ประจำโรงพยาบาลวังหลัง (ศิริราช)
            -  มีความรู้แพทย์สมัยใหม่และแพทย์แผนโบราณ
            -  เป็นแพทย์หลวงประจำพระองค์ ร. 6
            -  ได้รับพระราชทานนามสกุล ถาวรเวช

ที่มาของเรื่อง
มื่อรัชกาลที่ 5 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ตั้งโรงเรียนราชแพทยาลัยขึ้นแล้ว ใน พ.ศ. 2432 ได้มีการพิมพ์ตำราแพทย์สำหรับโรงเรียนเล่มแรกชื่อว่า “แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์”   เมื่อ พ.ศ. 2438  พิมพ์เป็นตอนๆ แบ่งออกเป็นภาคกล่าวรวมทั้งวิชาแพทย์ไทยโบราณและวิชาแพทย์ฝรั่ง  โดยมีความประสงค์เพื่อให้เป็นประโยชน์แก่โรงเรียนราชแพทยาลัยและมหาชนทั่วไป
ต่อมาผู้ที่สำเร็จการศึกษาวิชาแพทย์จากโรงเรียนราชแพทยาลัย ได้จัดพิมพ์ตำราแพทย์ศาสตร์ขึ้นอีกเป็นวารสาร รายเดือน แต่พิมพ์ออกมาได้เพียง 4 ฉบับก็เลิกไป
พระยาพิศณุประสาทเวช  ได้กราบทูลขอประทานพระอนุญาตจากกรมพระยาดำรงราชานุภาพ สภานายกหอพระสมุดวชิรญาณ    ในขณะนั้นเพื่อจัดพิมพ์ตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ฉบับหลวง   2 เล่มจบ เมื่อ  1 มีนาคม พ.ศ.2450

จุดมุ่งหมายของเรื่อง
         - เพื่อให้ราษฎรที่ป่วยไข้  สามารถใช้เป็นเครื่องมือรักษาตนเอง
        - เพื่ออนุรักษ์ตำราแพทย์แผนไทยไว้ให้คนรุ่นหลัง

ลักษณะคำประพันธ์


กาพย์ยานี 11
อธิบายฉันทลักษณ์  กาพย์ยานี 11 
-  วรรคหน้า 5 คำ วรรคหลัง 6 คำรวม 11คำ (5+6) เรียก  1 บาท
-  1  บท   มี 4 วรรค (สดับ รับ รอง ส่ง)  นับเป็น   2 บาท
-  การส่งสัมผัส     คำสุดท้ายวรรคที่ 1 ส่งไปยังวรรคที่ 2 คำที่ 3
คำสุดท้ายวรรคที่ 2 ส่งไปยังวรรคที่ 3 คำสุดท้าย
 คำสุดท้ายวรรคที่ 4  ส่งไปยังวรรคที่ 2 คำสุดท้าย ของบทต่อไป (ระหว่างบท)
* ไม่บังคับการส่งสัมผัสจากวรรคที่ 3 ไปวรรคที่ 4
ตัวอย่างกาพย์ยานี 11
        อนึ่งจะกล่าวสอนกายนครมีมากหลาย
ประเทียบเปรียบในกายทุกหญิงชายในโลกา
ดวงจิตคือกระษัตริย์ผ่านสมบัติอันโอฬาร์
ข้าศึกคือโรคาเกิดเข่นฆ่าในกายเรา

คัมภีร์ฉันทศาสตร์
    ศัพท์ภาษาไทยว่า "แพทย์" มาจากศัพท์สันสกฤต "ไวทย" แปลว่า ผู้รู้พระเวท หมายถึงผู้รู้วิชาการต่างๆ ที่ประมวลอยู่ในคัมภีร์พระเวท (คัมภีร์พระเวทฉบับหนึ่งคือ อถรรพเวท เป็นต้นกำเนิดของตำราการแพทย์ และการรักษาโรคด้วยสมุนไพร) และผู้รู้วิชาการรักษาโรค เป็นที่นับถือยกย่องและมีบทบาทมากในสังคม ต่อมาคำว่า "ไวทย" จึงมีความหมายเจาะจงหมายถึงผู้รู้วิชาการรักษาโรค                       
 ตำราแพทย์ของไทยที่มีมาแต่โบราณ มีร่องรอยของอิทธิพลความเชื่อและหลักปฏิบัติต่างๆ ที่ปรากฏในตำราแพทย์ของอินเดีย ดังจะเห็นได้จาก คัมภีร์ฉันทศาสตร์ 
 ในความหมายกว้าง "ฉันทศาสตร์" จะหมายถึงตำราแพทย์โดยรวมเนื้อหาในตำราฉันทศาสตร์อาจแบ่งเป็นตอนๆ ได้ดังนี้ 
ตอนที่ 1 เริ่มด้วยบทไหว้ครู กล่าวถึงคุณสมบัติของแพทย์และสิ่งที่แพทย์ควรรู้ ความสำคัญของแพทย์ปรากฏในบทเปรียบเทียบ "กายนคร" ซึ่งเปรียบร่างกายมนุษย์เป็นเมือง และแพทย์เป็นทหารป้องกันบ้านเมืองจากข้าศึกคือโรคภัย    ในท้ายตอนที่ 1 มีสังเขปอาการของ ไข้ทับ 8 ประเภท
ตอนที่ 2 มีข้อความกำกับว่า "ว่าด้วยคัมภีร์ตักกะศิลา" ขึ้นต้นด้วยบทไหว้พระรัตนตรัย บิดา มารดา และครูอาจารย์ แล้วกล่าวถึงวิธีสังเกตอาการไข้และยารักษา 
ตอนที่ 3 กล่าวถึงกำเนิดโรคภัย ลักษณะของผู้หญิงที่มีน้ำนมดีหรือน้ำนมชั่ว ลักษณะไข้สามขั้นคือเอกโทษ ทุวรรณโทษและตรีโทษ
ตอนที่ 4 กล่าวถึงวิธีสังเกตตำแหน่งชีพจรซึ่งเปลี่ยนไปตามเวลาขึ้นแรม พร้อมทั้งข้อควรระวังต่างๆ 
ตอนที่ 5  กล่าวถึงธาตุทั้งห้าคือ ดิน น้ำ ลม ไฟ และอากาศ ซึ่งเป็นสาเหตุแห่งโรค 
ตอนที่ 6 กล่าวถึงอาการของไข้ป่วง 8 ประเภท และยารักษา     
ตอนที่ 7 กล่าวถึงกำหนดเวลาโมงยามที่สัมพันธ์กับสมุฏฐานโรค
ตอนที่ 8 กล่าวถึงโรคท้องร่วงลักษณะต่างๆ 
ตอนที่ 9 มีชื่อว่ามรณญาณสูตร บอกวิธีสังเกตนิมิตของผู้ใกล้ตาย
ตอนที่ 10 กล่าวถึงอาการของโรคทรางประเภทต่างๆ และกล่าวถึงธาตุในร่างกายซ้ำกับตอนที่ 5 แต่มีเพียงธาตุทั้งสี่ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ
แนวความคิดเกี่ยวกับ ธาตุ 4 นั้น ปรากฏอยู่ในคัมภีร์แพทย์แผนไทยเกือบทุกเล่ม ได้แก่ "คัมภีร์พระโอสถพระนารายณ์     พระคัมภีร์มหาโชตรัต พระคัมภีร์โรคนิทาน พระคัมภีร์ปฐมจินดาร์ พระคัมภีร์ธาตุวิภังค์ พระคัมภีร์สรรพคุณยาแลมหาพิกัต พระคัมภีร์สมุฏฐานวินิจฉัย พระคัมภีร์ธาตุวิวรณ์ และพระคัมภีร์ธาตุบรรจบ" แต่ธาตุทั้ง 5 นั้น ไม่ปรากฏในคัมภีร์เล่มใดเลยยกเว้นใน คัมภีร์ฉันทศาสตร์ เท่านั้น

แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์
        แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ : ภูมิปัญญาทางการแพทย์และมรดกทางวรรณกรรมของชาติ  เป็นหนังสือที่กระทรวงศึกษาธิการได้จัดทำและจัดพิมพ์ เพื่อน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายเป็นพระราชสักการะแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในมหามงคลสมัยที่ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 6 รอบ โดยได้รวบรวมคัมภีร์แพทย์ ครั้ง ร.ศ. 126 และ ร.ศ. 128 ซึ่งได้ตรวจสอบรับรองโดยคณะแพทย์หลวงในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ จำนวน 14 คัมภีร์ เผยแพร่แก่ประชาชนทั่วไป
คัมภีร์ฉันทศาสตร์ กล่าวถึงจรรยาของแพทย์ทับ 8 ประการโรคทราง  สมุฏฐานแห่งไข้  อติสารมรณญาณสูตร 
พระคัมภีร์ปฐมจินดาร์ กล่าวถึงพรหมปุโรหิตแรกปฐมกาล-การปฏิสนธิแห่งทารก กำเนิดโลหิต  ระดูสตรี ครรภ์ทวาร กำเนิดโรคกุมารและยารักษาฯ 
           พระคัมภีร์ธาตุวิภังค์ กล่าวถึงความพิการของธาตุทั้ง 4
พระคัมภีร์สรรพคุณ (แลมหาพิกัต) กล่าวถึงสรรพคุณของสมุนไพรที่มีคุณค่าทางยาหรือเภสัช 
พระคัมภีร์สมุฏฐานวินิจฉัย กล่าวถึงความรู้ในการวินิจฉัยโรค 
พระคัมภีร์วรโยคสาร กล่าวถึงองค์แห่งแพทย์ 30 ประการฯ 
พระคัมภีร์มหาโชตรัต กล่าวถึงโรคสตรี 
พระคัมภีร์ชวดาร กล่าวถึงโรคลมและโรคเลือด
พระคัมภีร์โรคนิทาน กล่าวถึงเหตุและสมมุติฐานของโรค 
พระคัมภีร์ธาตุวิวรณ์ กล่าวถึงเหตุที่ธาตุสี่ไม่ปกติและการแก้ไข                       
พระภัมภีร์ธาตุบรรจบ กล่าวถึงโรคอุจจาระธาตุฯ 
พระคัมภีร์มุจฉาปักขันทิกา กล่าวถึงโรคบุรุษสตรี 
พระคัมภีร์ตักกะศิลา กล่าวถึงโรคระบาดอย่างร้ายแรง ไข้พิษ
พระคัมภีร์ไกษย กล่าวถึงโรคที่ทำให้ร่างกายทรุดโทรมไม่แข็งแรง

วิเคราะห์คุณค่า
1.  คุณค่าด้านเนื้อหา
เนื้อหาของคัมภีร์ฉันทศาสตร์และแพทยศาสตร์สงเคราะห์จะเน้นใจความหลักสองส่วนนั่นคือ เน้นคุณค่าจรรยาบรรณของแพทย์สิ่งที่แพทย์ที่ดีพึงปฏิบัติและไม่พึงปฏิบัติอันเป็นการรวบรวมจรรยาบรรณของแพทย์ในด้านต่างๆมาประมวลรวมไว้ในตำราเดียวอย่างเป็นระบบทำให้คุณค่าของแพทย์ดูเป็นรูปธรรมและเข้าใจได้ง่ายมากยิ่งขึ้น และก่อให้เกิดอิทธิพลและเป็นต้นแบบของจรรยาบรรณแพทย์แขนงต่างๆ จนกระทั่งปัจจุบัน
ส่วนที่สองคือตำราแพทย์แผนโบราณ ซึ่งเป็นการรวบรวมตำราแพทย์แผนโบราณฉบับหลวง ก่อให้เกิดการประมวลความรู้ทางด้านการแพทย์แผนโบราณเป็นหนึ่งเดียว ง่ายต่อการนำมาจัดระบบให้การศึกษาเช่นเดียวกัน ทั้งยังเป็นการรวบรวมความรู้ทางการแพทย์เอาไว้มิให้สูญหายไปตามกาลเวลาและผิดเพี้ยนไปจากเดิม
จึงถือได้ว่า คัมภีร์ฉันทศาสตร์ แพทยศาสตร์สงเคราะห์เป็นวรรณคดีที่รวบรวมพื้นฐานทุกสิ่งอย่างของอาชีพแพทย์         อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ และมีคุณค่าทั้งทางด้านองค์ความรู้และทางด้านจิตใจต่อแพทย์ ผู้ประกอบวิชาชีพ และผู้ที่สนใจอาชีพแพทย์อย่างยิ่ง
2. คุณค่าด้านวรรณศิลป์
การสรรคำ

การเล่นเสียงสัมผัสผู้ใดใครทำชอบตามระบอบพระบาลี
กุศลผลจะมี          อเนกนับเบื้องหน้าไป  
การซ้ำคำกายไม่แก่รู้       ประมาทผู้อุดมญาณ
แม้เด็กเป็นเด็กชาญ  ไม่ควรหมิ่นประมาทใจ     
การเพิ่มเสียง  “ร”   ให้ดำรงกระษัตริย์ไว้คือดวงใจให้เร่งยา
อนึ่งห้ามอย่าโกรธา      ข้าศึกมาจะอันตราย
การใช้ภาพพจน์
อุปมาจะกล่าวคัมภีร์ฉัน     ทศาสตรบรรพ์ที่ครูสอน
เสมอดวงทินกร                แลดวงจันทร์กระจ่างตา
บุคคลวัตจบเรื่องที่ตนรู้              โรคนั้นสู้ว่าแรงกรรม         
ไม่สิ้นสงสัยทำ                สุดมือม้วยน่าเสียดาย
อุปลักษณ์    ดวงจิตคือกระษัตริย์          ผ่านสมบัติอันโอฬาร์
ข้าศึกคือโรคา                  เกิดเข่นฆ่าในกายเรา 
รสทางวรรณคดี
เสาวรจนีข้าขอประนมหัตถ์         พระไตรรัตนนาถา
ตรีโลกอมรมา                      อภิวาทนาการ
พิโรธวาทังไม่รักจะทำยับ              พาตำรับเที่ยวขจร
เสียแรงเป็นครูสอน           ทั้งบุญคุณก็เสื่อมสูญ
สัลลาปังคพิสัยไม่รู้คัมภีร์เวช                  ห่อนเห็นเหตุซึ่งโรคทำ
แพทย์เอ๋ยอย่างมคลำ            จักขุมืด  บ  เห็นหน
2.  คุณค่าด้านวรรณศิลป์
 ด้านวิชาการหรือด้านการแพทย์ 
* ให้ความรู้ด้านเวชศาสตร์และสมุนไพรไทย
* คุณค่าทางด้านการแพทย์แผนโบราณ
* เน้นความเป็นวิทยาศาสตร์
* ให้ความรู้ถึงคุณสมบัติของแพทย์
* ทราบถึงความสำคัญของแพทย์
* ทราบถึงคำเตือนสำหรับแพทย์บางประการ
-  ให้คุณค่าทางด้านคุณธรรม 
*  ข้อบกพร่องของแพทย์
*  ด้านจรรยาบรรณแพทย์
*  ความผิดพลาดจากการรักษา


ความรู้เสริมบทเรียน
1. หมอชีวก โกมารภัจจ์
-ถือกำเนิดจากนางนครโสเภณี แคว้นมคธ ถูกนำมาทิ้งในกองขยะ เจ้าชายอภัยราชกุมาร โอรสพระเจ้าพิมพิสารเป็นผู้ทรงเก็บมาเลี้ยงที่วัง
-เป็นหมอหลวงในราชสำนักของพระเจ้าพิมพิสาร  ได้ถวาย   การรักษาโรค “ภคันทลาพาธ” (ริดสีดวงทวาร)   ของพระเจ้า        พิมพิสารแห่งเมืองราชคฤห์
-คุณธรรมที่ควรยึดถือเป็นแบบอย่าง

 *  เป็นอุบาสกที่ดี เลื่อมใสในพระรัตนตรัย เคารพพระพุทธเจ้าอย่างสูง   
 *  ใฝ่เรียนรู้และมีความพยายาม ตั้งใจเล่าเรียนอย่างมานะ                      

 *  มีจิตใจเสียสละ ดูแลผู้ป่วยอย่างเต็มความสามารถ ไม่เลือกอยากดีมีจน
2.  ลักษณะทับ 8 ประการ
-เด็กเป็นไข้  เนื่องจากแม่ทราง 2 ชนิดให้โทษ คืออาการต่อไปให้ลงท้อง กระหายน้ำ ตัวร้อน ปลายมือปลายเท้าเย็น      ถ้าเด็กมีอาการเป็นดังนี้
ก.  ตอนเช้าให้กินยาตรี
ข.  ตอนเที่ยงให้กินยาหอมผักหนอก
ค.  ตอนเย็นให้กินประสะนิลน้อย
-เด็กเป็นไข้ให้สำรอก เสมหะเป็นสีเหลืองสีเขียว เป็นเม็ดมะเขือ ให้ไอนอนผวา เบื่อข้าวเบื่อนม  ตัวร้อนบ้างเย็นบ้างเป็นคราวๆ ตามองช้อนไปข้างบน
-เป็นไข้แล้วให้อุจจาระพิการ ลงท้องเป็นมูกเหม็นเปรี้ยวเหม็นคาว ละอองทรางขึ้นในคอ ให้ไอ มีน้ำมูก ปวดศีรษะ ตัวร้อนจัด เชื่อมมัว
-ไข้เนื่องจากหวัดกำเดา  ให้ไอ ตัวร้อนจัด หายใจถี่  ปากคอแห้ง นอนผวา เม็ดทรางเกิดในคอ ข้าวนมไม่กิน ท้องขึ้นหลังแข็ง ให้ใช้ยาเย็นและสุขุม
-เด็กไข้ตกอุจจาระเป็นมูกดำสดๆ เป็นหวัดมีกำเดาแทรก       ตัวร้อนจัด เชื่อมมัว อยากน้ำเป็นกำลัง ตอนเช้าให้กินน้ำสมอไท  เที่ยงยาหอมผักหนอก
-กำลังเด็กเป็นไข้หวัด มีอาการซึมเซาเชื่อมมัว ปวดหัวตัวร้อนตั้งแต่เท้าตลอดเบื้องบน บางทีท้องขึ้น หอบไอแห้ง ลงเป็นมูกเลือดไม่เป็นเวลา  พอแก้ได้
-เด็กให้ลงออกมาเป็นส่าเหล้า เหม็นคาว เหม็นขื่น ต่อมาเป็นมูกเลือดสดๆ ปวดเบ่งตับทรุดลงมาตัวร้อน ท้องขึ้น ปลายเท้าปลายมือเย็น หายใจขัด อาการนี้อาการตาย แก้ไม่ได้
-เด็กใดๆก็ดี หกล้ม ชอกช้ำ ต่อมาจับไข้ตัวร้อนเป็นเวลา หน้าตาไม่มีสีเลือด ท้องร่วงเป็นส่าเหล้าหรือไข่เน่า สุดท้ายลงเป็นมูกเลือด ตัวร้อนหายใจขัดสะอื้น ปลายเท้าเย็น มือเย็น อาการนี้เป็นอาการตายแก้ไม่ได้
3. จารึกตำรายาที่วัดพระเชตุพนวิมงมังคลาราม
จารึกตำรายาที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม แบ่งเป็น 4 ประเภท (หรือวิชา) ดังนี้
-วิชากายภาพบำบัด (ฤาษีดัดตน) ทำเป็นรูปฤาษี หล่อด้วยดีบุกผสมสังกะสี จำนวน 80 ท่า มีโคลงสี่สุภาพอธิบายประกอบทุกท่า
-วิชาเวชศาสตร์ ว่าด้วยการศึกษาโรคภัยไข้เจ็บตามทฤษฎีการแพทย์แผนไทย มีการแยกสมุฏฐานของโรค การวินิจฉัยโรค การใช้ยาบำบัดรักษาโรค รวมจำนวนยา 1,128 ขนาน
-วิชาแผนนวด หรือวิชาหัตถศาสตร์ มีภาพโครงสร้างของร่างกายมนุษย์ แสดงที่ตั้งของเส้นประสาทการนวด 14 ภาพ และภาพเกี่ยวกับการนวดแก้ขัดยอกแก้เมื่อยและโรคต่างๆ อีก 60 ภาพ
-วิชาเภสัช ว่าด้วยสรรพคุณของเครื่องสมุนไพร ที่เรียกว่า ตำราสรรพคุณยา  ปรากฏสรรพคุณในการบำบัดรักษา จำนวน   113 ชนิด
แม้ว่าพระคัมภีร์สรรพคุณ (แลมหาพิกัต) ในหนังสือ  "แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์" นั้น น่าจะเป็นคนละสำนวนกันกับตำราสรรพคุณยาฉบับวัดพระเชตุพนฯ และฉบับกรมหลวงวงษาธิราชสนิท เพราะมีรายละเอียดต่างกัน แต่ก็มีเนื้อหาใกล้เคียงกันมาก เห็นได้ว่ามีพื้นฐานมาจากต้นฉบับเดียวกัน โดยได้มีการปรับปรุงแก้ไขและเพิ่มเติมในภายหลัง


อ้างอิงข้อมูล http://www.digitalschool.club/digitalschool/thai2_4_1/thai6_5/index.php
ผู้จัดทำ นาย ชยธร แจ่มมณี ม.5-2 เลขที่2


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

นิทานพื้นบ้าน