วันอังคารที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2561

การอ่านแปลความตีความและขยายความ

                              การอ่านแปลความตีความและขยายความ 

การอ่านแปลความ
             ความหมาย   
การแปลความ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานพ.ศ.2525 (2525:540)ให้ความหมายว่า "แปล"ไว้ว่า "ก.ถ่ายความหมายจากภาษาหนึ่ง ทำให้เข้าใจความหมาย"
ชวาล แพรัตกุล(2518:228-229) ได้ให้ความหมายของคำว่า "แปล"ไว้ว่า หมายถึง การแปลเจตนา และรู้ความหมายของเรื่องราวนั้น และสามารถถ่ายทอดให้ผู้อื่นเข้าใจได้ด้วยถ้อยคำใหม่ สำนวนใหม่พอสรุปความหมาย"การแปลความ"ได้ว่า หมายถึง การอ่านที่มุ่งให้เกิดความเข้าใจกับเนื้อหา เริ่มจากการแปลคำหรือศัพท์ที่ไม่รู้ความหมาย หรือเป็นการแปลศัพท์จากภาษาหนึ่งไปยังอีกภาษาหนึ่ง การถอดคำประพันธ์ แปลความหมายรูปภาพ เครื่องหมายต่างๆ   เช่น
    หน้าวังหรือจะสั่งด้วยนะนก ในแนบอกของพี่ว่าโหยไห้
                                    มิทันสั่งสกุณินก็บินไป ลงจับใกล้นกตะกรุมริมวุ้มวน
                                    คำที่ขีดเส้นใต้ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน หมายถึง นก

ความหมาย
 
 
             การอ่านตีความ หมายถึง  การอ่านเพื่อให้เข้าใจความหมาย  ความคิดสำคัญของเรื่อง  ความรู้สึก และอารมณ์สะเทือนใจจากบทประพันธ์ ซึ่งอาจเข้าใจได้มากน้อยลึกซึ้งเพียงใด ตรงกันกับผู้ประพันธ์หรือไม่ หรือผู้อ่านคนอื่น ๆ หรือไม่ ขึ้นอยู่กับความสามารถและประสบการณ์เดิมและความรู้สึกของผู้อ่านแต่ละคน การตีความของทุกคนอาจไม่ตรงกันเสมอไป  โดยในกระบวนการอ่านเพื่อตีความนั้นผู้อ่านจะต้องใช้ความรู้ ความสามารถในการแปลความ จับใจความสำคัญ การสรุปความ รวมทั้งการเปรียบเทียบ ความสัมพันธ์ของข้อความ


การอ่านตีความ

การอ่านตีความ  หมายถึง  การอ่านเพื่อให้เข้าใจความหมาย   
ความคิดสำคัญของเรื่อง   ความรู้สึก น้ำเสียง และเจตนาของผู้เขียน เช่น
แนะนำ สั่งสอน เสียดสี ประชดประชัน การตีความของทุกคนอาจไม่ตรงกันเสมอไป
กระบวนการอ่านเพื่อตีความผู้อ่านจะต้อง  ประกอบด้วย
๑.ใช้ความรู้ ความสามารถในการแปลความ
๒.จับใจความสำคัญ
๓.การสรุปความ
๔.การเปรียบเทียบ ความสัมพันธ์ของข้อความ

ความสำคัญของการอ่านตีความ


     การอ่านตีความเป็นการอ่านที่ต้องอาศัยทั้งความรู้ ประสบการณ์   
การสังเกต  และการวิเคราะห์ ของผู้อ่าน 

      การอ่านตีความเป็นการอ่านขั้นสำคัญที่ทำให้เข้าใจงานเขียนทุกชนิด 
การอ่านตีความจึงมีความสำคัญ  ดังนี้

     ๑. ช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจเนื้อหาสาระของเรื่องที่อ่านได้หลายด้านหลายมุม 

     ๒. ช่วยให้เห็นคุณค่าและได้รับประโยชน์จากสิ่งที่อ่าน

     ๓. ช่วยให้ฝึกการคิด  ฝึกไตร่ตรองเหตุผล

     ๔. ช่วยให้มีวิจารณญาณในการอ่านมากยิ่งขึ้น

     ๕. เป็นเครื่องมือสำคัญในการเข้าถึงงานประพันธ์นั้น ๆ 

    ๖. ช่วยให้ผู้อ่านมีโลกทัศน์ที่กว้างไกล  ลึกซึ้ง มีใจกว้างยอมรับความแตกต่าง ของมนุษย์ด้วยกันได้

การตีความควรจะตีความทั้งด้านเนื้อหาและด้านน้ำเสียงควบคู่กันไป 

ตัวอย่างที่ ๑

"ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ"

ตีความด้านเนื้อหา : น้ำพริกที่มีปริมาณน้อย เมื่อตำแล้วเทละลายลงแม่น้ำย่อมสูญเปล่า เพราะไม่เกิดรสชาติใดๆเปรียบได้กับการทำอะไรก็ตามแล้วสูญเปล่า
 ตีความด้านน้ำเสียง : เตือนสติคนเราว่า การจะทำอะไรต้องประมาณตนว่า
สิ่งที่ทำลงไปนั้น จะได้ผลคุ้มค่าหรือไม่

ตัวอย่างที่  ๒
            เหมือนบายศรีมีงานท่านถนอม
เจิมแป้งหอมน้ำมันจันทน์ให้หรรษา 
พอเสร็จงานเขาเอาทิ้งลงคงคา

ต้องลอยมาลอยไปเป็นใบตอง
                                                                 (นิราศพระบาท - สุนทรภู่)

ตีความด้านเนื้อหา : สุนทรภู่เปรียบเทียบว่าชีวิตคนเรานั้นเหมือนบายศรี
เวลามีงานก็จะถนอมเป็นอย่างดี แต่พอเสร็จงานก็ไม่มีประโยชน์ ไม่มีคุณค่า
ก็จะกลายเป็นเพียงเศษใบตองเท่านั้น

ตีความด้านน้ำเสียง : สุนทรภู่ต้องการสะท้อนให้เห็นถึงชีวิตที่ผันแปรของคน
ซึ่งเมื่อก่อนเคยมีความสุข มีคนยกย่องให้เกียรติ แต่บัดนี้ต้องมาพบกับความทุกข์
ความขมขื่นตามลำพัง

สรุปผลการตีความ : เตือนใจให้ผู้อ่านได้ยั้งคิดถึงชีวิตของคนว่า ทุกอย่างไม่แน่นอน
พึงเตรียมใจไว้สำหรับสัจธรรมข้อนี้ด้วย

การตีความควรจะตีความทั้งด้านเนื้อหาและด้านน้ำเสียงควบคู่กันไป
ตัวอย่างที่ ๑

"ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ"



ตีความด้านเนื้อหา : น้ำพริกที่มีปริมาณน้อย เมื่อตำแล้วเทละลายลงแม่น้ำย่อมสูญเปล่า เพราะไม่เกิดรสชาติใดๆเปรียบได้กับการทำอะไรก็ตามแล้วสูญเปล่า



ตีความด้านน้ำเสียง : เตือนสติคนเราว่า การจะทำอะไรต้องประมาณตนว่า

สิ่งที่ทำลงไปนั้น จะได้ผลคุ้มค่าหรือไม่
ตัวอย่างที่  ๒
                             เหมือนบายศรีมีงานท่านถนอม
                       เจิมแป้งหอมน้ำมันจันทน์ให้หรรษา
                       พอเสร็จงานเขาเอาทิ้งลงคงคา
                        ต้องลอยมาลอยไปเป็นใบตอง
                                                       (นิราศพระบาท - สุนทรภู่)
ตีความด้านเนื้อหา : สุนทรภู่เปรียบเทียบว่าชีวิตคนเรานั้นเหมือนบายศรี
เวลามีงานก็จะถนอมเป็นอย่างดี แต่พอเสร็จงานก็ไม่มีประโยชน์ ไม่มีคุณค่า
ก็จะกลายเป็นเพียงเศษใบตองเท่านั้น

ตีความด้านน้ำเสียง : สุนทรภู่ต้องการสะท้อนให้เห็นถึงชีวิตที่ผันแปรของคน
ซึ่งเมื่อก่อนเคยมีความสุข มีคนยกย่องให้เกียรติ แต่บัดนี้ต้องมาพบกับความทุกข์
ความขมขื่นตามลำพัง

สรุปผลการตีความ : เตือนใจให้ผู้อ่านได้ยั้งคิดถึงชีวิตของคนว่า ทุกอย่างไม่แน่นอน
พึงเตรียมใจไว้สำหรับสัจธรรมข้อนี้ด้วย

     การขยายความ
การขยายความ หมายถึง วิธีการถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจข้อมูล ข่าวสาร หรือเรื่องราวต่าง ๆ ที่ได้ศึกษาค้นคว้า แปลความ ตีความ อย่างมีวิจารณญาณ    แล้วถ่ายทอดรายละเอียดของข้อมูล เรื่องราว เพิ่มมากขึ้น ชัดเจน มีสาระและเหตุผลโดยอาศัยเรื่องเดิมหรือข้อความที่ปรากฏเป็นพื้นฐาน
การขยายความสามารถทำได้หลายวิธี ดังนี้

     ๑.การกล่าวถึงสาเหตุและผลที่สัมพันธ์กัน

     ๒.การยกตัวอย่างหรือข้อเท็จจริงมาประกอบเนื้อเรื่องเดิม

     ๓.การอธิบายสิ่งที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้นเพิ่มเติม

     ๔.การคาดคะเน (การอนุมาน) สิ่งที่น่าจะเป็น หรือสิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไป

 โดยอาศัยข้อมูลเหตุผลจาก เรื่องเดิมเป็นพื้นฐานการคิดคาดคะเน

ตัวอย่างการขยายความ

 ตัวอย่างที่ ๑                     ฝนตกหยิม ๆ ยายฉิมเก็บเห็ด

          จากข้อความนี้ สามารถขยายความออกไปได้โดยคิดถึงสิ่งที่นาจะเป็นและใช้เหตุผลประกอบได้ดังนี้
๑.หญิงชราชื่อฉิม มีฐานะยากจน เพระต้องออกไปหาเห็ด
แม้ว่าฝนจะตก  แกสวมเสื้อผ้าเก่า ๆ (อาจจะขาดก็ได้เพราะยากจน)

๒.ยายฉิมผู้นี้อยู่ตามลำพัง เพราะหากมีลูกหลานก็ไม่น่าจะใจร้าย
ปล่อยให้แกออกไปเก็บเห็ดตามลำพังขณะฝนตก

๓. ยายฉิมอาศัยอยู่ในกระท่อมชายป่า
เพราะเป็นภูมิประเทศที่เที่ยวหาเห็ดได้

๔.ขณะที่แกออกไปเก็บเห็ดนั้นเป็นเวลาเช้าตรู่
เพราะถ้าสายอาจมีคนอื่นมาเก็บไปก่อน     หรือมิฉะนั้นดอกเห็ด
ก็จะบานซึ่งไม่เป็นที่นิยมที่จะรับประทาน

๕.เป็นช่วงฤดูฝน
๖.ยายฉิมน่าจะเก็บเห็ดเพื่อเอาไปขาย เพราะอายุขนาดนั้น
คงไม่สามารถทำงานหนักอย่างอื่นเป็นอาชีพเลี้ยงตัวเองได้
และที่ต้องเก็บเห็ดไปขายเป็นการดิ้นรนกระเสือกกระสนเลี้ยงชีพ
เพราะไม่มีลูกหลานคอยดูแล

ตัวอย่างที่ ๒
ความโศกเกิดจากความรัก
ความกลัวก็เกิดจากความรัก
ผู้ที่ละความรักเสียได้ ก็ไม่โศกไม่กลัว
                                               (พุทธภาษิต)

ขยายความได้ว่า
            เมื่อบุคคลมีความรักต่อสิ่งใด หรือคนใด เขาก็ต้องการให้สิ่งนั้น คนนั้น
คงอยู่กับเขาตลอดไป มนุษย์โดยทั่วไปย่อมจะกลัวว่าสิ่งนั้นๆหรือคนที่ตนรัก
จะสูญหายหรือจากเขาไป ด้วยธรรมดาแล้วทุกสิ่งทุกอย่างย่อมเปลี่ยนแปลง
สูญสลายไปตามสภาพการณ์ ถ้าบุคคลรู้ความจริงข้อนี้
เขาก็จะไม่โศกไม่กลัวต่อไป

ตัวอย่างที่ ๓
          เหล่าแม่ค้าเรือพายร้องขายของ 
ส่งเสียงร้องซื้อได้ไหมจ๊ะ ก่อนจะสาย
ทั้งผักปลาผลไม้สวนล้วนมากมาย    
ดูวุ่นวายสับสนเดินชนกัน

                จากตัวอย่างนี้ สามารถขยายความได้โดยการคาดคะเนอย่างมีเหตุผล
จากความเดิมดังนี้
๑.สถานที่ขายของมีลักษณะเป็นตลาดน้ำ เพราะแม่ค้าพายเรือขายของ

๒.ตลาดขายของเฉพาะช่วงเช้า ไม่ขายตลาดวัน อนุมานได้จากข้อความว่า ก่อนจะสาย
 ซึ่งแสดงว่า พอสายก็หยุดขาย

๓.ข้อความในวรรคที่สาม แสดงว่า การปลูกผัก ผลไม้ ในบริเวณแถบนั้นได้ผลสมบูรณ์
(แม่ค้าน่าจะเก็บผักหรือผลไม้ที่ปลูกในละแวกนั้นมาขาย เพราะต้องมาให้ทันตลาดตอนเช้า    
หากเก็บมาจากที่ไกล ๆ อาจพายเรือไม่ทันเวลา)

๔. แสดงว่าแม่น้ำลำคลองละแวกนั้นยังดีอยู่ ยังไม่เน่าเหม็น ปลาที่อาศัยอยู่ในแม่น้ำ
  ลำคลองยังมีจำนวนมาก เพราะสามารถจับมาขายได้

๕.ผู้คนที่อาศัยอยู่ในละแวกนั้นมีเป็นจำนวนมาก เฉพาะที่มาจ่ายตลาด
  ก็มาถึงขนาดเดินชนกัน

อ้างอิง : https://sites.google.com/site/thaisubjectkruorawan/bth-thi-4-kar-xan-pael-khwam-tikhwam-laea-khyay-khwam   (วันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๖๑)
             https://km.nssc.ac.th/external_links.php?links=5768      (วันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๖๑)

สร้างโดย : นาย ราชัน สนิทปัจโร เลขที่ 5 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

นิทานพื้นบ้าน