วันพุธที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2561

การแต่งคำประพันธ์ประเภทฉันท์

การแต่งคำประพันธ์ประเภทฉันท์



ความหมายของฉันท์

           พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒  ได้ให้ความหมายไว้ว่า  ฉันท์ น. ชื่อคำประพันธ์ประเภทหนึ่งที่วางคำครุ ลหุ เป็นแบบต่าง ๆ

            กำชัย   ทองหล่อ   อธิบายความหมายว่า ฉันท์คือ   ลักษณะถ้อยคำที่กวีได้ร้อยกรองขึ้นให้เกิดความไพเราะซึ่ง  โดยกำหนดคณะ ครุลหุ   และสัมผัสไว้เป็นมาตรฐาน”  กล่าวโดยสรุป   ฉันท์   หมายถึง   คำประพันธ์ชนิดหนึ่งของไทยที่มีข้อบังคับ   เรื่องครุลหุ   เพิ่มขึ้น   นอกเหนือจากเรื่องคณะและสัมผัสซึ่งเป็นข้อบังคับในคำประพันธ์ชนิดอื่น

หลักการแต่งคำประพันธ์ประเภทฉันท์

            การแต่งคำประพันธ์ประเภทฉันท์ซึ่งเป็นคำประพันธ์ที่แต่งยาก  และอ่านยากกว่าคำประพนธ์ทุกชนิด  เพราะฉันท์มีข้องบังคับเรื่องคำครุหุเพิ่มขึ้นและคำและคำที่ใช้ในการแต่งฉันท์นั้นส่วนใหญ่เป็นคำที่มาจากภาษีบาลี  สันสกฤต  เพราะคำไทยหาคำลหุที่มีความหมายได้ยากการศึกษาให้เข้าใจรูปแบบและลักษณะบังคับของฉันท์  จะช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจคำประพันธ์ประเภทฉันท์  สามารถอ่านออกเสียงได้ถูกต้อง  และเข้าใจความหมายได้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น  ความรู้เรื่องฉันท์ที่จะกล่าวถึงต่อไปในบทนี้  มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับลักษณะบังคับหรือฉันท์ของฉันท์ที่กวีไทยนิยมแต่ง  และปรากฏอยู่ในวรรณคดีประเภทคำฉันท์ของไทย  เพื่อให้นักเรียนใช้เป็นความรู้พื้นฐานในการแต่งฉันท์  และในการอ่านวรรณคดีไทยให้เข้าใจยิ่งขึ้น

 ประเภทของฉันท์

          ฉันท์มากมายหลายชนิด  การแบ่งชนิดของฉันท์ตามฉันทลักษณ์ให้สะดวกแก่การศึกษาอาจแบ่งเป็น ๓ ประเภท  ดังนี้ประเภทที่ ๑ ฉันท์ ๑๑ ฉันท์ ๑๒ และฉันท์ ๑๔ ฉันท์ประเภทนี้แบ่งเป็น ๒ บาท มีสัมผัสเหมือนกัน  แต่ลักษณะกานอ่านแตกต่างกันตามตำแหน่งคำครุ ลหุ มีสัมผัสบังคับ  คือ  สัมผัสระหว่างบาทและระหว่างบท  คือ  คำสุดท้ายของบทเอก ( บาทที่หนึ่ง)ส่งสัมผัสไปยังคำสุดท้ายในวรรคแรกของบาทโท ( บาทที่สอง)  ถ้าต่างมากกว่าหนึ่งบท  ต้องมีสัมผัสระหว่างบท  คือ  คำสุดท้ายของบทแรกจะต้องส่งสัมผัสไปยังคำสุดท้ายของบทบาทเอกในบทต่อไป  ส่วนสัมผัสที่เป็นเส้นประในแผนผัง  เป็นสัมผัสระหว่างวรรคแรกส่งสัมผัสไปยังคำที่สามของวรรคที่สองในบาทเดียวกัน  เป็นสัมผัสที่ไม่บังคับ บางบทจะมีสัมผัสดังกล่าว  แต่บางบทก็ไม่มี

        ฉันท์ที่นิยมแต่งในภาษาไทย เป็นฉันท์วรรณพฤติเป็นพื้น ที่เป็นมาตราพฤติ ไม่ใคร่จะนิยมแต่ง เพราะจังหวะ และทำนองที่อ่านในภาษาไทย ไม่สู้จะไพเราะ เหมือนฉันท์วรรณพฤติ แม้ฉันท์วรรณพฤติ ที่ท่านแปลงมาเป็นแบบในภาษาไทยแล้ว ก็ไม่นิยมแต่งกันทั้งหมด เท่าที่สังเกตดู ในคำฉันท์เก่าๆ มักนิยมแต่งกันอยู่เพียง 6 ฉันท์เท่านั้น คือ

- อินทรวิเชียรฉันท์
- โตฎกฉันท์
- วสันตดิลกฉันท์
- มาลินีฉันท์
- สัททุลวิกกีฬิตฉันท์
- สัทธราฉันท์ 


อินทรวิเชียรฉันท์


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ อินทรวิเชียรฉันท์



โตฎกฉันท์




วสันตดิลกฉันท์



รูปภาพที่เกี่ยวข้อง


มาลินีฉันท์

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ มาลินีฉันท์


สัททุลวิกกีฬิตฉันท์


สัทธราฉันท์ 


ฉันท์ทั้ง ๒๔ ชนิด มีชื่อ และลักษณะต่างๆ กัน ดังจะได้อธิบาย ต่อไปนี้


  • ๑.  จิตรปทาฉันท์ ๘
    ๒.  วิชชุมาลาฉันท์ ๘
    ๓.  มาณวกฉันท์ ๘
    ๔.  ปมาณิกฉันท์ ๘
    ๕.  อุปัฏฐิตาฉันท์ ๑๑
    ๖.  อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑
    ๗.  อุเปนทรวิเชียรฉันท์ ๑๑
    ๘.  อุปชาติฉันท์ ๑๑
    ๙.  สาลินีฉันท์ ๑๑
    ๑๐. อาขยานิกาฉันท์ ๑๑
    ๑๑. วังสัฏฐฉันท์ ๑๒
    ๑๒. อินทวงสฉันท์ ๑๒
    ๑๓. โตฎกฉันท์ ๑๒
    ๑๔. ภุชงคประยาตฉันท์ ๑๒
    ๑๕. กมลฉันท์ ๑๒
    ๑๖. วสันตดิลกฉันท์ ๑๔
    ๑๗. มาลินีฉันท์ ๑๕
    ๑๘.  ประภัททกฉันท์ ๑๕
    ๑๙.  วาณินีฉันท์ ๑๖
    ๒๐.  กุสุมิตลดาเวลลิตาฉันท์ ๑๘
    ๒๑. เมฆวิปผุชชิตาฉันท์ ๑๙
    ๒๒.  สัททุลวิกกีฬิตฉันท์ ๑๙
    ๒๓.  อีทิสฉันท์ ๒๐
    ๒๔.  สัทธราฉันท์ ๒๑

อ้างอิง https://sites.google.com/a/htp.ac.th/ (วันที่ ๗ ธันวาคม ๒๕๖๑)
            https://www.gotoknow.org/posts/(วันที่ ๗ ธันวาคม ๒๕๖๑)
            https://sites.google.com/site/toffight05/chnid-khxng-chanth(วันที่ ๗ ธันวาคม ๒๕๖๑)
นางสาว วรรณทสา ขืนเขียว  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕/๒ เลขที่ ๒๔



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

นิทานพื้นบ้าน