วันจันทร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2561

ความสัมพันธ์ระหว่างความคิดกับภาษา

               ความสัมพันธ์ระหว่าง ความคิดกับภาษา

การคิดกับความคิด
      
     การคิด หมายถึง กระบวนการทำงานของสมองหรือจิตใจมนุษย์ขณะพยายามหาคำตอบหรือทางออก เกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง 
ความคิด คือ ผลของการคิด 
          
        คิดให้วัฒนะ หมายถึง ไปคิดในทางที่เป็นคุณประโยชน์
        
        คิดให้หายนะ หมายถึง คิดไปในทางที่เป็นโทษ

จุดมุ่งหมายสูงสุดของการพัฒนาความคิด

       คิดไปในทางวัฒนะ ผลของการคิดจะก่อเกิดประโยชน์แก่ส่วนรวม เมื่อความคิดเปลี่ยนเป็นการกระทำ ผลของการกระทำ  จะก่อให้เกิดประโยชน์สุข 


ภาษาพัฒนาความคิด-ความคิดพัฒนาภาษา
ภาษาเป็นเครื่องมือในการคิด
ภาษาช่วยอธิบายความคิด หรือ  ช่วยแสดงความคิดจึงมีประโยชน์ คือ
๑. ช่วยให้ผู้อื่นเข้าใจ
๒. ช่วยให้ผู้ใช้ภาษาได้ขัดเกลาความคิดของตนให้พัฒนายิ่งขึ้น
ดังนั้น ผู้ที่มีสมรรถภาพในการใช้ภาษาย่อมจะมีสมรรถภาพสูงในการคิด และผู้มีสมรรถภาพสูงในการคิดย่อมใช้ภาษาได้ดีเป็นผลสืบเนื่องกัน ในกรณีที่ต้องใช้ความคิดร่วมกันหลายคนจึงต้องแสดงความคิดโดยการพูดออกมาดัง ๆ บทบาทของภาษาก็จะยิ่งเด่นชัดขึ้น
วิธีคิด
วิธีคิดวิเคราะห์ คือ การพิจารณาสิ่งใดสิ่งหนึ่งแยกออกเป็นส่วนๆ เพื่อทำความเข้าใจแต่ละส่วนให้เข้าใจแจ่มแจ้ง และพิจารณาว่าแต่ละส่วนมีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันอย่างไร
วิธีคิดดังนี้  คือ
๑.กำหนดขอบเขตหรือนิยามสิ่งที่จะวิเคราะห์
๒.กำหนดจุดมุ่งหมายในการวิเคราะห์ให้ชัดเจน
๓.พิจารณาหลักความรู้ที่จะใช้ในการวิเคราะห์ว่าจะให้หลักใด
๔.ใช้หลักความรู้ให้ตรงกับเรื่องที่วิเคราะห์ รู้ว่าจะวิเคราะห์อย่างไร
๕.สรุปและรายงานผล
วิธีคิดสังเคราะห์
คือ การรวมส่วนต่างๆให้ประกอบกันเข้าด้วยวิธีที่เหมาะสม เกิดเป็นสิ่งใหม่ที่จะนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป
วิธีคิดดังนี้  คือ
๑.กำหนดจุดมุ่งหมายในการสังเคราะห์ให้ชัดเจน
๒.หาความรู้เกี่ยวกับหลักการที่จะนำมาใช้เป็นหลักในการสังเคราะห์
๓.ทำความเข้าใจส่วนต่างๆที่จะนำมาใช้ประกอบในการสังเคราะห์
๔.เลือกหลักความรู้ใช้ให้เหมาะแก่กรณี
๕.ทบทวนผลของการสังเคราะห์ว่าสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายเพียงใด
วิธีคิดประเมินค่า
    คือ การใช้ดุลพินิจตัดสินคุณค่าของสิ่งใดสิ่งหนึ่งในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง เช่น ดี-เลว, เป็นคุณ-เป็นโทษ,คุ้ม-ไม่คุ้ม มีประโยชน์-ไม่มีประโยชน์
วิธีคิดดังนี้  คือ
๑.ทำความเข้าใจให้รู้จักสิ่งที่จะประเมินให้ชัดเจนก่อน คือ วิเคราะห์และสังเคราะห์ให้ดี
๒.พิจารณาเกณฑ์ที่จะใช้ตัดสินคุณค่า ระบุเกณฑ์ให้ชัดเจน
๓.ถ้าจะประเมินโดยเปรียบเทียบกับหลักฐานอื่นจะต้องดูให้เหมาะสมและกล่าวถึงหลักฐานให้ชัดเจน
วิธีคิดแก้ปัญหา
ปัญหา  คือ สภาพการณ์ที่ทำให้เกิดความยุ่งยาก ซึ่งมนุษย์ประสบอยู่มากมาย การแก้ปัญหาเป็นจะช่วยให้เกิดประโยชน์ทั้งต่อตนเองและส่วนรวม
ประเภทของปัญหา
๑.ปัญหาเฉพาะบุคคล
๒.ปัญหาเฉพาะกลุ่ม
๓.ปัญหาสาธารณะ/ปัญหาสังคม
เป้าหมายในการแก้ปัญหา
     การปลอดพ้นอย่างถาวรจากสภาพที่ไม่พึงประสงค์
การเลือกวิถีทางการแก้ปัญหา
วิถีทางการแก้ปัญหา คือ วิธีการที่จะนำไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ
วิธีทางการแก้ปัญหามีหลายวิธีแตกต่างกันไปการเลือกวิถีทางแก้ปัญหาควรเลือกวิธีที่ดีที่สุด สามารถปฏิบัติได้  มีอุปสรรคน้อยที่สุด และนำไปสู่จุดมุ่งหมายที่เราต้องการได้
หลักการคิดเพื่อแก้ปัญหา
๑. ทำความเข้าใจลักษณะของปัญหา และวางขอบเขตของปัญหา
๒. วิเคราะห์ประเภทของปัญหา สาเหตุ และสภาพแวดล้อมของปัญหา เพื่อให้เข้าใจปัญหา 
๓. วางเป้าหมายในการแก้ปัญหาให้แน่ชัด
๔.คิดหาวิธีทางแก้ปัญหาด้วยวิธีต่าง ๆ โดยใช้ระเบียบวิธีคิดเชิงสังเคราะห์
๕. ประเมินคุณค่าวิธีทางแก้ปัญหาที่ได้มา แล้วเลือกวิธีทางที่ดีที่สุด โดยใช้ระเบียบวิธีคิดเชิงประเมินค่า
เหตุผลกับภาษา
เหตุผล คือ ความคิดสำคัญซึ่งจะเป็นหลัก  เป็นเกณฑ์ หรือเป็นข้อเท็จจริง  ซึ่งทำหน้าที่รองรับข้อสรุป ความคิดหลัก จะทำให้ข้อสรุปนั้นหนักแน่น และน่าเชื่อถือ
ข้อสรุป คือ ข้อวินิจฉัย ข้อตัดสินใจ หรือข้อยุติเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ข้อสรุปที่มีเหตุผลรองรับจะมีความหนักแน่น และน่าเชื่อถือ
โครงสร้างของการแสดงเหตุผล
๑.เหตุผล หรือข้อสนับสนุน 
๒.ข้อสรุป
ตัวอย่าง๑  ฉันไม่ชอบดูมวย  เพราะไม่อยากเห็นความรุนแรงไม่ชอบที่จะเห็นใครเจ็บปวด                                                           

เหตุผล ไม่อยากเห็นความรุนแรง ไม่ชอบที่จะเห็นใครเจ็บปวด        

ข้อสรุป ฉันไม่ชอบดูมวย
ตัวอย่าง๒  ฉันเลี้ยงเขามาตั้งแต่เล็ก ฉันจะไม่ยอมให้ใครมาพรากเขาไปจากฉันได้                                                                                           

เหตุผล ฉันเลี้ยงเขามาตั้งแต่เล็ก                                                       

ข้อสรุป ฉันจะไม่ยอมให้ใครมาพรากเขาไปจากฉันได้
ตัวอย่าง๓  ในปัจจุบันฝนตกน้อย  เพราะป่าไม้ถูกทำลายไปมาก         
เหตุผล ป่าไม้ถูกทำลายไปมาก                                                          

ข้อสรุป ในปัจจุบันฝนตกน้อย

ภาษาที่ใช้ในการแสดงเหตุผล

๑. ใช้สันธาน ได้แก่ จึง, ดังนั้น, ดังนั้น...จึง, เพราะ...จึง, เพราะว่า..., เมื่อ...จึง, เพราะฉะนั้น..., โดยที่...จึง, ด้วย... เป็นต้น
๒. ในการแสดงเหตุผล บางครั้งไม่ต้องใช้คำสันธาน เพียงแต่เรียบเรียงข้อความโดยวางส่วนที่เป็นเหตุผลและส่วนที่เป็นข้อสรุปไว้ให้เหมาะสม 
๓. ในการแสดงเหตุผล อาจใช้กลุ่มคำโดยชัดแจ้งเพื่อบ่งชี้ว่าเป็นเหตุผล หรือเป็นข้อสรุป
๔. ในการใช้ภาษาแสดงเหตุผล หากผู้ส่งสารต้องการใช้เหตุผลหลาย ๆ ข้อประกอบกัน ต้องแยกเหตุผลเป็นข้อ ๆ ไป เพื่อช่วยให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น
เหตุผลและการอนุมาน
การอนุมาน คือ กระบวนการคิดในการหาข้อสรุปจากเหตุผลที่มีอยู่ และเมื่อใช้คำว่า “อนุมาน”เป็นคำกริยา จึงหมายถึง ใช้ความคิดเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อสรุปจากหลักทั่วไป กฎเกณฑ์หรือข้อเท็จจริงที่มีอยู่
การอนุมานมีอยู่ ๒ วิธี
๑.การอนุมานด้วย วิธีนิรนัย
๒.การอนุมานด้วย วิธีอุปนัย                                                                                                การอนุมานจาก เหตุและผลที่สัมพันธ์กัน
การอนุมานด้วย วิธีนิรนัย                                                                    
คือ การแสดงเหตุผลจากส่วนรวมไปหาส่วนย่อย หรือการอนุมานจากหลักความจริงทั่วไปกับกรณีเฉพาะกรณีหนึ่งไปสู่กรณีหนึ่ง ถ้านิรนัยครบ ๓ ขั้นจะเป็นดังนี้  คือ
๑.หลักความจริงทั่วไป : มนุษย์ทุกคนต้องตาย                                                                            (ข้อสนับสนุน-ข้อเท็จจริง)      
๒.กรณีเฉพาะกรณีหนึ่ง : ฉันเป็นมนุษย                                                                                          (ข้อสนับสนุน)
๓.กรณีเฉพาะอีกกรณีหนึ่ง : ฉันก็ตองตาย                                                                                            (ข้อสรุป) 
ตัวอย่าง๑  ความกตัญญูกตเวทีเป็นเครื่องหมายของคนดี  สุรชัยเป็นคนที่กตัญญูเป็นอย่างยิ่ง จึงกล่าวได้ว่าสุรชัยเป็นคนดี                          

๑.หลักความจริงทั่วไป : ความกตัญญูกตเวทีเป็นเครื่องหมายของคนดี                                      (ข้อสนับสนุน-ข้อเท็จจริง)                                                                     ๒.กรณีเฉพาะกรณีหนึ่ง : สุรชัยเป็นคนที่กตัญญูอย่างยิ่ง                                                              (ข้อสนับสนุน)         

๓.กรณีเฉพาะอีกกรณีหนึ่ง : สุรชัยเป็นคนดี                                                                                        (ข้อสรุป)    
ตัวอย่าง๒  คนเราเกิดมาย่อมมีรัก โลภ โกรธ หลง โนรีก็เป็นมนุษย์คนหนึ่งเธอรู้สึกทนไม่ไหวที่เห็นสามีเดินควงคู่อยู่กับผู้หญิงคนอื่น เธอโกรธเค้ามากที่สุด                                                                                  

๑.หลักความจริงทั่วไป : คนเราเกิดมาย่อมมีรัก โลภ โกรธ หลง
(ข้อสนับสนุน-ข้อเท็จจริง)                                                                              


๒.กรณีเฉพาะกรณีหนึ่ง : โนรีก็เป็นมนุษย์คนหนึ่ง เธอรู้สึกทนไม่ไหวที่เห็นสามีเดินควงคู่อยู่กับผู้หญิงคนอื่น
(ข้อสนับสนุน)     

๓.กรณีเฉพาะอีกกรณีหนึ่ง : เธอโกรธเค้ามากที่สุด                                            (ข้อสรุป)

การอนุมานด้วย วิธีอุปนัย

คือ การแสดงเหตุผลจากส่วนย่อยไปหาส่วนรวม วิธีนี้ใช้ข้อมูลและข้อเท็จจริงต่าง ๆ เป็นหลักฐานหรือข้อสนับสนุน แต่ข้อมูลหรือข้อเท็จจริงมีอยู่จำกัดข้อสรุปด้วยวิธีอุปนัยจึงต่างจากวิธีนิรนัยประการสำคัญ คือ

ข้อสรุปด้วยวิธีนิรนัย  : “ต้องเป็นเช่นนั้น” หรือ “ย่อมเป็นเช่นนั้น”

ข้อสรุปด้วยวิธีอุปนัย  : “น่าจะเป็นเช่นนั้น” หรือ “ควรจะเป็นเช่นนั้น”
การอนุมานจาก เหตุและผลที่สัมพันธ์กัน
คือ การอนุมานด้วยวิธีนี้  จัดว่าเป็นการอนุมานด้วย วิธีอุปนัย เพราะข้อสรุปที่ได้อาจไม่ใช่ข้อสรุปที่ต้องเป็นจริงเสมอไป แบ่งเป็น ๓ ประเภท คือ
๑.การอนุมานจาก เหตุไปหาผล
๒.การอนุมานจาก ผลไปหาเหตุ
๓.การอนุมานจาก ผลไปหาผล
๑.ในระยะข้างหน้าน้ำทะเลจะขึ้นสูงเร็วกว่าที่ผ่านมา เพราะโลกจะร้อนขึ้น น้ำทะเลจะพองขึ้นและน้ำแข็งจากทวีปแอนตาร์กติกจะละลายลงมา                          ๑.การอนุมานจากผลลัพธ์ไปหาสาเหตุ
๒.เมื่อเราหายใจเอาฝุ่นละอองเข้าไปมากๆ ฝุ่นละอองก็จะเข้าไปเกาะที่ถุงลมปอดอย่างหนาแน่น ซึ่งทำให้ปอดไม่สามารถทำงานได้ จึงทำให้เป็นโรคปอดหิน
๒.การอนุมานจากสาเหตุไปหาผลลัพธ์
๓.ในสังคมปัจจุบัน เราก็ต่างยอมรับกันว่า เงินมีความสำคัญมาก เพราะเราสามารถใช้เงินเป็นเครื่องมือแลกเปลี่ยนซื้อหาสรรพสิ่งได้อย่างสะดวก และง่ายดาย 
๓.การอนุมานจากผลลัพธ์ไปหาผลลัพธ์
๔. สมหวังไม่เคยอ่านหนังสือมาทั้งปีก็ไม่แปลกเลยที่การสอบของเขาไม่สมหวัง
๔.การอนุมานจากสาเหตุไปหาผลลัพธ์
๕. ภาษาไทยวันนี้น่าจะเปรียบได้กับคนไทยลูกครึ่งฝรั่ง โดยเฉพาะฝรั่งอเมริกัน คำฝรั่งสนิทสนมกลมเกลียวไปกับคำไทย คนไทยหมดปัญญาหาคำไทยมาใช้แทนคำฝรั่ง (คำไทยในที่นี้รวมทั้งคำแขก คำเขมร) โดยเฉพาะในเรื่องวิชาการสมัยใหม่ 
๕.การอนุมานจากสาเหตุไปหาผลลัพธ์
๖. ขยะมูลฝอยเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สำคัญประการหนึ่งของประเทศไทย เพราะยังไม่สามารถเก็บขยะมูลฝอยต่างๆไปกำจัดได้หมด มีขยะมูลฝอยตกค้าง ก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมและเกิดผลกระทบต่อสุขภาพผู้คน  
๖.การอนุมานจากผลลัพธ์ไปหาผลลัพธ์
ตัวอย่าง๓  ในปัจจุบันฝนตกน้อย  เพราะป่าไม้ถูกทำลายไปมาก        เหตุผล  ป่าไม้ถูกทำลายไปมาก                                     
ข้อสรุป  ในปัจจุบันฝนตกน้อย
๑.การอนุมานจากสาเหตุไปหาผลลัพธ์
   ๑. ในปัจจุบันนี้จะพบว่าชาวต่างประเทศนิยมมาท่องเที่ยวเมืองไทยกันมากยิ่งขึ้น  จึงทำให้รัฐมีรายได้เป็นอันดับ ๑ ของรายได้ทั้งหมด
๒.การอนุมานจากผลลัพธ์ไปหาสาเหตุ   
   ๒. นักท่องเที่ยวและประชาชนทั่วไปต้องไม่ทิ้งขยะและเศษสิ่งของลงในท้องทะเล เพราะธรรมชาติจะสวยงามได้ตลอดไปตราบที่เราไม่เข้าไปทำลาย
๓.การอนุมานจากสาเหตุไปหาผลลัพธ์
   ๓. เพราะว่าแร่เป็นทรัพยากรที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติที่มีความสำคัญและมีบทบาทที่สนองความต้องการทางด้านปัจจัยต่างๆของประชากร เพราะฉะนั้นเราจึงควรใช้แร่ให้คุมค่าและหามาตรการอนุรักษ์แร่ธาตุเหล่านั้น
การแสดงทรรศนะ
ทรรศนะ คือ ความคิดเห็นที่ประกอบด้วยเหตุผล
โครงสร้างของการแสดงทรรศนะ
๑.ที่มา                                                                                                                  
- เรื่องราวอันทำให้เกิดการแสดงทรรศนะ                                                                - ที่มาของทรรศนะจะชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นที่ต้องแสดงทรรศนะ                           - ช่วยให้ผู้รับสารเกิดความเข้าใจและพร้อมที่จะรับฟังทรรศนะนั้นต่อไป    
๒.ข้อสนับสนุน                                                                                                                - ข้อเท็จจริง หลักการ  รวมทั้งทรรศนะและมติของผู้อื่นที่ผู้แสดงทรรศนะนำมาใช้                                                                                                                                - เพื่อประกอบเป็นเหตุผลสนับสนุนข้อสรุปของตน   
๓.ข้อสรุป                                                                                                                       - สารที่สำคัญที่สุดของทรรศนะ                                                                                  - อาจเป็นข้อเสนอแนะ  ข้อวินิจฉัย  ข้อสันนิษฐาน  หรือการประเมินค่าเพื่อให้ผู้อื่นพิจารณายอมรับ  หรือนำไปปฏิบัติ                      
ประเภทของทรรศนะ      
ทรรศนะเชิงข้อเท็จจริง                                                                           

  เป็นทรรศนะที่กล่าวถึงเรื่องที่เกิดขึ้นแล้ว แต่ยังเป็นเรื่องที่คนใน                          สังคมยังถกเถียงกันอยู่ การแสดงทัศนะจึงเป็นเพียงข้อสันนิษฐาน จะน่าเชื่อถือมากน้อยนั้นขึ้นอยู่กับเหตุผลที่นำมาเสนอเป็นสำคัญ  
ทรรศนะเชิงคุณค่า                                                                                                      
  เป็นทรรศนะที่ประเมินว่า สิ่งใดดี สิ่งใดด้อย สิ่งใดเป็นประโยชน์หรือเป็นโทษ สิ่งใดเหมาะสมหรือไม่เหมาะสม สิ่งเหล่านั้นอาจเป็นวัตถุ บุคคล กิจกรรม โครงการ วิธีการ นโยบาย หรือแม้แต่ทรรศนะก็ได้ ซึ่งอาจประเมินได้โดยการเปรียบเทียบกับสิ่งที่อยู่ในประเภทเดียวกัน หรือตามเกณฑ์ที่กำหนดขึ้น       
ทรรศนะเชิงนโยบาย                                                                                      

เป็นทรรศนะที่บ่งชี้ว่าควรทำอะไร อย่างไร ต่อไปในอนาคต หรือควรจะปรับปรุแก้ไขสิ่งใดไปในทางใด นโยบายมีได้หลายระดับ ตั้งแต่ระดับบุคคล กลุ่มบุคคล องค์กร สถาบัน ประเทศชาติ
ลักษณะภาษาที่ใช้แสดงทรรศนะ

๑. ใช้คำกริยาหรือกลุ่มคำกริยาที่ชี้ชัดว่าเป็นการแสดงทรรศนะ เช่น ผมคิดว่า....   ดิฉันเข้าใจว่า...........    ผมขอเสนอว่า...........

๒. ใช้คำหรือกลุ่มคำกริยาช่วยในข้อสรุป เพื่อชี้ให้เห็นว่า เป็นการแสดงทรรศนะ เช่น น่า  น่าจะ  คง  ควรจะ  สมควรจะ

๓. ใช้กลุ่มคำขยาย ที่สื่อความหมายไปในทางแสดงทรรศนะ สื่อความหมายในเชิงแสดงความเชื่อมั่น คาดคะเน หรือประเมิน 

ปัจจัยที่ส่งเสริมการแสดงทรรศนะ

๑. ปัจจัยภายนอก คือ บรรยากาศสิ่งแวดล้อม

๒. ปัจจัยภายใน เป็นปัจจัยที่เกี่ยวกับผู้แสดงทรรศนะเอง

การประเมินทรรศนะ

๑. ประโยชน์และลักษณะสร้างสรรค์ 

๒. ทรรศนะที่ดีจะต้องมีความน่าเชื่อถือ และความสมเหตุสมผล 

๓. ความเหมาะสมกับผู้รับสารและกาลเทศะ 

๔. การใช้ภาษา 

ใช้ภาษาในการโต้แย้ง

การโต้แย้ง คือ การแสดงทรรศนะที่แตกต่างกันระหว่างบุคคล ๒ ฝ่าย โดยแต่ละฝ่ายพยายามใช้ข้อมูล สถิติ หลักฐาน เพื่อสนับสนุนทรรศนะของตนและคัดค้านทรรศนะของอีกฝ่ายหนึ่ง การโต้แย้งอาจยุติลงโดยการตัดสิน หรือการวินิจฉัยของบุคคลที่โต้แย้งกันนั่นเอง

โครงสร้างของการโต้แย้ง

๑.เหตุผล  

๒.ข้อสรุป

กระบวนการโต้แย้ง

. การตั้งประเด็นในการโต้แย้ง
ประเด็นในการโต้แย้ง หมายถึง คำถามที่ก่อให้เกิดการโต้แย้งกัน โดยคู่กรณีจะเสนอคำตอบต่อคำถามนั้นไปตามทรรศนะของตน

๒. การนิยามคำหรือกลุ่มคำสำคัญที่อยู่ในประเด็นของการโต้แย้ง

๓. การค้นหาและเรียบเรียงข้อสนับสนุนทรรศนะของตน

๔. การชี้ให้เห็นจุดอ่อนและความผิดพลาดของทรรศนะ- ฝ่ายตรงกันข้าม
ใช้ภาษาเพื่อโน้มน้าวใจ

การโน้มน้าวใจ 
หมายถึง    การกระทำโดยพยายามเปลี่ยนสภาพเดิมของสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้เป็นไปตามทิศทางที่ผู้กระทำต้องการ

สารโน้มน้าวใจ  
หมายถึง   สารที่มุ่งให้ผู้รับสารเกิดความเปลี่ยนแปลง อาจเป็นด้านความรู้สึก ความเชื่อ ค่านิยมหรือความรู้ต่างๆ ก็ได้

สารโน้มน้าวใจ  สามารถพบได้ทุกหนทุกแห่ง  ทั้งในครอบครัว  ในสถาบันการศึกษา  ในการซื้อขาย  และในสถาบันการเมือง

หลักสำคัญของการโน้มน้าวใจ
                                                                                                                                         หลักสำคัญของการโน้มน้าวใจ คือ การปลุกเร้าให้ผู้รับสารมีความรู้สึกว่า  ถ้าหากตนปรับเปลี่ยนความคิดและการกระทำไปตามแนวทางนั้นแล้ว  ก็จะได้รับผลที่ตอบสนองความต้องการของตน

กลวิธีในการโน้มน้าวใจ

มีดังนี้ ๑. แสดงให้เห็นถึงความน่าเชื่อถือของบุคคลผู้โน้มน้าวใจ
          ๒. แสดงให้เห็นว่าเหตุผลนั้นหนักแน่น  ควรแก่การยอมรับ
          ๓. แสดงให้เห็นถึงความรู้สึกที่ร่วมกันระหว่างผู้รับและผู้ส่งสาร 
          ๔. แสดงให้เห็นทางเลือกทั้งด้านดีและด้านเสีย
          ๕. พยามทำให้เกิดความหรรษาหรืออารมณ์ขันบ้าง
          ๖. เร้าให้เกิดอารมณ์อย่างแรงกล้า

การพิจารณาสารโน้มน้าวใจลักษณะต่างๆ

๑. คำเชิญชวน 
พิจารณาจากการบอกจุดประสงค์ที่ชัดเจน  ชี้ให้เห็นประโยชน์แก่ส่วนรวม  รวมทั้งบอกวิธีปฏิบัติด้วย

๒. โฆษณาสินค้าหรือบริการ
สารประเภทนี้มักใช้ถ้อยคำแปลกใหม่  เป็นประโยคหรือวลีสั้นๆ  ให้รายละเอียดที่เกินจริง  มุ่งสนองความต้องการพื้นฐานของมนุษย์  
                      
๓. โฆษณาชวนเชื่อ 
มีทั้งทางการค้าและการเมือง  ใช้วิธีการสรรหาคำมาแทน  (ตราชื่อ)
ใช้ถ้อยคำหรูหรา  อ้างบุคคลหรือบุคคลส่วนใหญ่  อ้างแต่ประโยชน์ตน

สรุปสารโน้มน้าวใจ

สรุปได้ว่า
๑.การโน้มน้าวใจไม่ใช่การทำให้เปลี่ยนความรู้สึกนึกคิดและพฤติกรรมด้วยวิธีขู่เข็ญ  คุกคาม  หรือหลอกลวง
  
๒. การโน้มน้าวใจไม่ใช่พฤติกรรมดีหรือเลว  แต่อยู่กลางๆ ขึ้นอยู่กับเจตนาที่อยู่เบื้องหลังว่าดีหรือร้าย

๓. การโน้มน้าวใจเป็นการกระทำที่มีจุดมุ่งหมายเสมอ  ใช้กลวิธี
ทำให้เกิดการยอมรับและการเปลี่ยนพฤติกรรม  ทัศนคติ  ความเชื่อ  ค่านิยมและการกระทำด้วย


อ้างอิง:
http://elsd.ssru.ac.th/bualak_na/pluginfile.php/49/mod_page/content
(วันที่ ๐ ธันวาคม ๒๕๖๑)                                                             
นางสาว สุวรรณวารี ผลพิบูลย์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕/๒ เลขที่ ๓๔

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

นิทานพื้นบ้าน