วันเสาร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2561

การเขียนเชิงวิชาการ

การเขียนเชิงวิชาการ
การเขียนเชิงวิชาการ หมายถึง การนำเสนอผลการศึกษาค้นคว้าอย่าเป็นระบบ สำรวจ รวบรวม และวิเคราะห์อย่างละเอียดถี่ถ้วน มีเหตุผลรวมทั้งอ้างอิงหลักฐานที่มาอย่างมีระเบียบ อาจจะทำเป็นรายบุคคล หรือเป็นคณะก็ได้
วิธีจดบันทึก 
                 การจดบันทึกเป็นกระบวนการในขณะที่กำลังรับเอกสารแบ่งได้ดังนี้

๑. จดบันทึกจากการฟัง เช่น จากคำบรรยาย การประชุม เป็นต้น

๒. การจดบันทึกจากการอ่าน เช่น จากหนังสือ หรือ สิ่งพิมพ์

๓. จดบันทึกจากประสบการณ์ตรง เช่น บันทึกเหตุการณ์หรือเรื่องราวต่างๆที่ได้พบเจอและการจะจดบันทึก
จากแหล่งใดก็ตาม มีสิ่งที่ควรระลึกไว้ดังนี้
                 ๑. เก็บข้อมูลหรือข้อความให้ถูกต้องตรงตามที่ปรากฏ
                 ๒. ระบุแหล่งที่มาให้ชัดเจน รวมทั้งบอกวัน เดือน ปี ที่ได้จดบันทึกไว้ด้วย
                 ๓. จดบันทึกอย่างมีระบบ ให้เป็นระเบียบเดียวกัน

วิธีจดบันทึกจากการฟัง

     
การจดบันทึกจะดีเพียงใดขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้จดบันทึกที่กำลังฟังอยู่นั้น เพราะเราไม่สามารถจดบันทึกได้ทุกๆ คำพูด ฉะนั้นการจดบันทึกจึงควรเลือกจดประเด็นสำคัญ รวมทั้งอาจใช้อักษรย่อหรือเครื่องหมายเพื่อช่วยในการจดบันทึกได้ด้วย

   
สาระที่ได้จากการฟังอาจนำไปอ้างอิงในการเขียนเชิงวิชาการได้ แต่ควรบอกว่าได้ฟังมาจากแหล่งใด วัน เวลาใด เพื่อให้งานเขียนมีน้ำหนักมากขึ้น ส่วนการฟังอื่นๆ เช่น การฟังอภิปราย การฟังการประชุม และการฟังการสัมภาษณ์ วิธีการโดยรวมก็เหมือนกัน แต่มีข้อแตกต่างย่อยๆ ออกไปอีก เช่น เมื่อจดบันทึกจากการสัมภาษณ์ ก็ควรจดแยกคำถามกับคำตอบออกจากกัน เป็นต้น

ขั้นตอนการเขียนรายงานเชิงวิชาการ

๑.
 เลือกหัวข้อเรื่อง ถ้าสามารถเลือกได้ ควรเลือกเรื่องที่สนใจมากที่สุด และเป็นเรื่องที่สามารถค้นหาได้สะดวก และสามารถทำเสร็จได้ในเวลาที่จำกัด

๒. 
กำหนดจุดมุ่งหมายและขอบเขตเรื่อง รายงานวิชาการต้องมีจุดมุ่งหมายเฉพาะเจาะจงว่า จะนำเสนอความรู้เกี่ยวกับอะไร เพื่ออะไร และมีขอบเขตเท่าใด

๓.
ค้นคว้าและรวบรวมความรู้การค้นคว้าโดยหาความรู้มาเขียนรายงานอาจทำได้โดยอ่านเอกสารต่างๆ และการไปสังเกตด้วยตนเอง

๔. 
วางโครงเรื่อง ซึ่งเป็นเรื่องกำหนดว่า จะเขียนเกี่ยวกับอะไรบ้าง จะเขียนไปในทางใด และสั้นหรือยาวเพียงแค่ไหน นอกจากนี้โครงเรื่องยังช่วยให้เรียบเรียงเรื่องได้ถูกลำดับ ดำเนินเรื่องได้ต่อเนื่อง กำหนดเนื้อหาของแต่ละเรื่องได้อย่างพอเหมาะ และยังช่วยไม่ให้ออกนอกเรื่องอีกด้วยโดยแบ่งเป็น ๒ ตอน ได้แก่ การกำหนดหัวข้อย่อย และการกำหนดโครงเรื่อง

อ้างอิง:
https://sites.google.com/site/sasithorn241998/kar-kheiyn-cheing-wichakar
(วันที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๖๑)
นางสาว วรรธิดา พันทิพย์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕/๒ เลขที่ ๑

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

นิทานพื้นบ้าน