วันศุกร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2561

บทสดุดี

บทสดุดี
บทสดุดี (อังกฤษPanegyric) คือ สุนทรพจน์อย่างเป็นทางการ หรือต่อมาหมายถึงบทเขียนที่ใช้ในการกล่าวสรรเสริญบุคคลหรือปรัชญาความคิด และเป็นงานที่เป็นที่ทำการศึกษากันมากที่ไม่ใช่บทยกย่อง (eulogy) และมิใช่งานเขียนที่มีจุดประสงค์ในการวิพากษ์
“Panegyric” มาจากภาษากรีก “πανηγυρικός ที่แปลว่า สุนทรพจน์ที่เหมาะกับที่ประชุมใหญ่” (ศาสนชุมนุมของกรีก (Panegyris)) ในเอเธนส์สุนทรพจน์ดังกล่าวมักจะกล่าวเนื่องในโอกาสที่มีเทศกาลหรือการกีฬาระดับชาติ โดยมีวัตถุประสงค์ในการปลุกเร้าใจพลเมืองให้เห็นดีเห็นงามไปกับการกระทำอันเป็นวีรบุรุษของบรรพบุรุษ
บทสดุดีที่มีชื่อเสียงที่สุดก็ได้แก่บทสดุดี “Olympiacus” โดย จอร์จิอัส, “Olympiacus” โดย ลิเซียส และ “Panegyricus” และ “Panathenaicus” โดยอิโซคราทีส แต่ไม่ได้กล่าวจริง การกล่าวสดุดีเนื่องในโอกาสงานศพเช่นสุนทรพจน์ที่เขียนโดยนักประวัติศาสตร์ชาวกรีกธูซิดิดีสที่กล่าวโดยเพรีคลีสก็อยู่ในประเภทที่เรียกว่า บทสดุดี
ในสมัยโรมันโบราณบทสดุดีจำกัดใช้ในการสรรเสริญผู้ยังมีชีวิตอยู่เท่านั้น และใช้ บทสรรเสริญผู้ตาย” (funeral oration) สำหรับผู้เสียชีวิตไปแล้วเท่านั้น ตัวอย่างของบทสดุดีที่มีชื่อเสียงในภาษาลาตินก็ได้แก่บทสดุดีที่กล่าวโดยพลินิผู้เยาว์ในวุฒิสภาโรมันเนื่องในโอกาสที่ได้รับตำแหน่งเป็นกงสุล ที่มีเนื้อหาบางส่วนพาดพิงไปถึงบทยกย่องจักรพรรดิทราจัน
เมื่อมาถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 3 และระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 4 ในสมัยของจักรพรรดิไดโอคลีเชียนก็เกิดมีประเพณีการสรรเสริญคุณสมบัติของความเป็นมหาวีรบุรุษของพระจักรพรรดิที่กำลังทรงราชย์อยู่ในงานเทศกาลทางวรรณกรรม ในปี ค.ศ. 336 ยูซีเบียสแห่งเซซาเรียให้บทสดุดีเนื่องในพระราชวโรกาสที่จักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 1 ทรงราชย์ครบรอบ 30 ปี ซึ่งเป็นการสรรเสริญความมั่นศรัทธาทางศาสนาของพระองค์แทนที่จะเป็นการสรรเสริญในพระราชกรณียกิจที่ทรงประสบความสำเร็จในทางโลกที่ได้ทรงทำมาตามประเพณีการกล่าวสดุดีที่ทำกันมา
บทสดุดีที่ให้อย่างมีอรรถรส, ประสิทธิภาพ และ มีปฏิภาณเป็นเครื่องมือสำหรับผู้ยังมีอายุไม่มากนักผู้มีการศึกษาแต่ขาดประสบการณ์ในการดึงดูดความสนใจที่ต้องการในบรรยากาศของการแข่งขัน เมื่อกวีคลอเดียนเดินทางจากอเล็กซานเดรียมายังโรมก่อนปี ค.ศ. 395 ก็มาสร้างชื่อเสียงโดยการให้บทสดุดี และในที่สุดก็ได้เป็นกวีประจำสำนักของสติลิโค
คาสซิโอโดรัสข้าราชสำนักในพระเจ้าธีโอดอริคมหาราชทิ้งงานเขียนบทสดุดีเอาไว้  “Laudes” นักชีวประวัติของคาสซิโอโดรัส โอดอนเนลล์บรรยายว่าเป็นงานที่เป็นที่ทราบกันเป็นสุนทรพจน์ที่มีเนื้อหาสรรเสริญอันเกินเลย วัตถุประสงค์ของการเขียน (ซึ่งก็คงมีความสำคัญต่อการตัดสินคุณค่า) ก็เพื่อให้เห็นว่าการกล่าวสรรเสริญอันเกินเลยจะทำได้มากเท่าใดโดยไม่เกินขอบเขตของมารยาทและการจำกัดของสังคม

ตัวอย่างบทสดุดี
บทสดุดี เพื่อขอบพระคุณ
ชาวโลกทั้งสิ้นเอ๋ย จงโห่ร้องยินดีถวายแด่องค์พระผู้เป็นเจ้า
จงนมัสการองค์พระผู้เป็นเจ้าด้วยความเปรมปรีดิ์
จงมาเข้าเฝ้าพระองค์ด้วยบทเพลงชื่นบาน
จงรู้เถิดว่าพระยาห์เวห์ทรงเป็นพระเจ้า
พระองค์นี่แหละที่ทรงสร้างเรา และเราเป็นของพระองค์[a]
เราเป็นประชากรของพระองค์ เป็นแกะในทุ่งหญ้าของพระองค์
จงเข้าประตูของพระองค์ด้วยการขอบพระคุณ
เข้ามาในพระนิเวศของพระองค์ด้วยการสรรเสริญ
จงขอบพระคุณพระองค์และสรรเสริญพระนามของพระองค์
เพราะองค์พระผู้เป็นเจ้าทรงแสนดี และความรักมั่นคงของพระองค์ดำรงนิรันดร์
ความซื่อสัตย์ของพระองค์คงอยู่ตลอดทุกชั่วอายุ

บทสดุดี
 จงร้องเพลงบทใหม่ถวายแด่องค์พระผู้เป็นเจ้า
เพราะพระองค์ทรงกระทำการอัศจรรย์นานัปการ
พระหัตถ์ขวาและพระกรบริสุทธิ์ของพระองค์
นำความรอดมา
องค์พระผู้เป็นเจ้าทรงให้ความรอดของพระองค์เป็นที่รู้แจ้ง
และสำแดงความชอบธรรมของพระองค์แก่ประชาชาติทั้งหลาย
พระองค์ทรงระลึกถึงความรักมั่นคงของพระองค์
และความซื่อสัตย์ของพระองค์ต่อวงศ์วานอิสราเอล
คนทั่วทุกมุมโลกได้เห็น
ความรอดของพระเจ้าของเรา
ชาวโลกทั้งสิ้นเอ๋ย จงโห่ร้องยินดีถวายแด่องค์พระผู้เป็นเจ้า
จงเปล่งเสียงเพลงแห่งความชื่นบานคลอเสียงดนตรี
จงบรรเลงบทเพลงถวายแด่องค์พระผู้เป็นเจ้าด้วยพิณ
ด้วยพิณและเสียงขับขาน
จงเป่าแตรและแตรเขาแกะ
จงโห่ร้องด้วยความชื่นบานต่อหน้าพระยาห์เวห์จอมกษัตรา
ท้องทะเลและสรรพสิ่งในนั้น โลกและทุกชีวิตในโลก
จงแซ่ซ้องกังวาล
แม่น้ำทั้งหลายจงปรบมือ
ภูเขาทั้งหลายจงร้องเพลงรื่นเริงด้วยกัน
ทุกสิ่งจงร้องเพลงต่อหน้าองค์พระผู้เป็นเจ้า
เพราะพระองค์เสด็จมาเพื่อพิพากษาโลก
พระองค์จะทรงพิพากษาโลกด้วยความชอบธรรม
และพิพากษาชนชาติต่างๆ อย่างยุติธรรม



อ้างอิง
https://www.biblegateway.com
https://th.wikipedia.org
.ส ภคภรณ์ ปราบปัญจะ ม.๕/๒  เลขที่ ๑๙

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

นิทานพื้นบ้าน