วันจันทร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2561

การเพิ่มคำ

คำและการเพิ่มคำ

คำและการเพิ่มคำ
คำ           คือ  หน่วยที่เล็กในภาษาที่ต้องมีความหมาย
ประโยค  คือ  หน่วยใหญ่สุดในภาษา
คำมูล
คำมูล คือ คำดั้งเดิมในภาษาต่าง ๆ ที่มีใช้ในภาษาไทยเป็นคำไทยแท้ หรือเป็นคำที่มาจากภาษาอื่นก็ได้ เป็นพยางค์เดียวหรือหลายพยางค์ก็ได้ ที่ไม่ได้เกิดจากการรวมคำใด ๆ ดังนั้นเมื่อแยกคำมูลออกจากกันแล้วจะไม่มีความหมาย
 คำประสม
 คำประสม  คือคำที่ประกอบขึ้นจากคำมูล ๒ คำ ขึ้นไปมารวมกัน เมื่อมาประสมกันแล้วจะได้คำใหม่ โดยมีเค้าความหมายคล้ายเดิม หรืออาจเปลี่ยนไปบ้างก็ได้
คำประสมต้องเกิดความหมายใหม่แต่มีเค้าความหมายเดิม
คำประสมอาจทำหน้าที่เป็นคำชนิดต่าง ๆ ได้ เช่น คำนาม  คำกริยา  คำวิเศษณ์
คำประสมบางคำ สลับที่กัน ความหมายและหน้าที่ของคำเปลี่ยนไป เช่น
นอนหลับ   หลับนอน   น้ำตา  ตาน้ำ  กินอยู่  อยู่กิน  ชาเย็น  เย็นชา  ทางเดิน  เดินทาง  ใจหาย  หายใจ  ถ่ายรูป  รูปถ่าย  ใจน้อย  น้อยใจ  ผ้าห่ม  ห่มผ้า  ใจดี  ดีใจ
ข้อสังเกต   คำแรกในคำประสม เรียกว่า  คำต้น   คำที่มาต่อท้ายเรียกว่า  คำเติม
ความหมายของคำประสม
๑.มีความหมายนัยตรง เช่น  พ่อตา  แม่ยาย  น้ำปลา  แกงไก่  สวนสัตว์  ผ้าไหว้ ยาถ่าย  ข้าวตาก  ปลาเค็ม แกงเผ็ด  คนขายของ  ขนส่ง  เดินเที่ยว  ใจดี  มือแข็ง  สระน้ำ  แม่น้ำ  ลูกน้ำ  ฯลฯ
๒.มีความหมายเชิงเปรียบเทียบ  เช่น  เส้นสาย  นอกครู  หัวหมุน  ไก่อ่อน  อกแตก
 คำซ้อน
 คำซ้อน  คือ  การนำคำมูลที่มีความหมายเหมือนกัน  คล้ายกัน หรือตรงกันข้ามกัน มาซ้อนกัน
ชนิดของคำซ้อน
  • คำซ้อนเพื่อความหมาย
ความหมายคล้ายกัน เช่น  กักขัง  ครอบครอง  บุกรุก  คัดเลือก  แจกแจง
ความหมายตรงกันข้ามกัน เช่น สูงต่ำ  ดำขาว อ้วนผอม  เท็จจริง  มากน้อย
ความหมายเปรียบเทียบ  คัดเลือก  ค้ำจุน
  • คำซ้อนเพื่อเสียง
เช่น จู้จี้  จุกจิก เอะอะ  เลอะเทอะ  มีทั้งเสียงพยัญชนะและเสียงสระ
  • คำซ้อนบางคำเกิดจากภาษากลางซ้อนกับภาษาถิ่นหรือภาษาต่างประเทศที่มีความหมายเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน เช่น เสื่อสาด อ้วนพี โจรผู้ร้าย  เจริญรุ่งเรือง ทรัพย์สิน ตรวจสอบ แบบฟอร์ม
 ข้อสังเกตคำซ้อน
  • มักมีเสียงสัมผัสกัน เช่น ถกเถียง ขยับเขยื้อน หนักแน่น เพราะพริ้ง เฟื่องฟู
  • คำที่มี ๒ พยางค์ซ้อนกันจะกลายเป็น ๔ พยางค์ เช่นเฉลียวฉลาด สนุกสนาน
  • คำซ้อนบางคำ บัญญัติขึ้นในภาษาไทยเพื่อใช้เปรียบเทียบกันศัพท์ต่างประเทศ เช่น ปรับแปรง (adapt)   แปรผัน(vary)    หักเห(refract)
  • บางคำแปลความหมายของคำที่นำมาซ้อน เช่น ข่มเหง นัยน์ตา
  • คำซ้อนเป็นที่ยอมรับของผู้ใช้ภาษา
  • คำซ้อนบางคำถ้าเปลี่ยนตำแหน่งของคำ ความหมายจะเปลี่ยนไป เช่น แหลกเหลว-เหลวแหลก   แน่นหนา-หนาแน่น  เหยียดยาว-ยาวเหยียด กินอยู่-อยู่กิน แต่มีบางคำสลับที่แล้วความหมายไม่เปลี่ยน เช่น  เกี่ยวข้อง-ข้องเกี่ยว  แจกจ่าย-จ่ายแจก
คำซ้ำ
คือคำมูลที่มีรูปและเสียงซ้ำกันมารวมกันแล้วความหมายแปรเปลี่ยน เป็นวิธีการเพิ่มคำขึ้นโดยออกเสียงซ้ำคำเดิมให้ต่อเนื่องกัน ใช้เครื่องหมาย ๆ เติมหลังคำเดิม
ข้อสังเกตคำซ้ำ
  • คำๆหนึ่งมาซ้ำกันสองครั้ง เช่น เด็ก ๆ เล็กๆ เล่น ๆ
  • การซ้ำคำจะนำคำชนิดใดหรือทำหน้าที่ใดมาซ้ำก็ได้ เช่น ขาว ๆ หนุ่ม ๆ กล้วยๆ หมูๆ
  • คำซ้ำบางคำอาจแยกมาจากคำซ้อน เช่น ลูบคลำ-ลูบๆคลำๆ อดอยาก-อดๆ อยากๆ  จดจ้อง-จดๆ จ้องๆ  หนุ่มสาว-หนุ่มๆสาวๆ
  • คำซ้ำบางคำต้องใช้คู่กันจึงจะเกิดความหมาย เช่น งูๆปลาๆ สดๆร้อนๆ  เจ็บๆไข้ๆ  สุกๆดิบๆ  ลมๆแล้งๆ
การใช้คำซ้ำ
  • เปลี่ยนไปจากความหมายเดิม คือ มีความหมายเป็นพหูพจน์ เช่น เด็กๆ เพื่อนๆ ลูกๆ
  • มีความหมายอ่อนลง หรือทำอย่างไม่ตั้งใจ เช่น ไปนั่งๆ ให้เขาเห็นสักหน่อย หรือทำๆให้พอเสร็จ
  • เมื่อซ้ำคำวิเศษณ์ ทำให้มีความหมายว่าทำกริยานั้นๆ ต่อเนื่องกัน เช่น เธอร้องกรี๊ดๆ อยู่ลั่นห้อง
  • เมื่อซ้ำคำวิเศษณ์ ขยายนามหรือกริยาจะมีความหมายอ่อนลง หรือไม่เจาะจง เช่น เธอสวมเสื้อสีดำๆ กินให้อิ่มๆ นะจะได้มีแรง
  • เมื่อซ้ำคำบุพบท มีความหมายไม่เจาะจง เช่น เขายืนอยู่ริมๆ ถนน
  • ในภาษาพูดที่ไม่เป็นทางการอาจเปลี่ยนวรรณยุกต์ เช่น เด๊กเด็ก
  • มีบางคำต้องออกเสียงซ้ำเสมอเช่น ฝนตกหยิมๆ
  • การใช้ไม้ยมก กำหนดใช้ในบทร้อยแก้วเท่านั้น
 คำสมาส
               คำสมาส มี  ๒  แบบ
๑.สมาสโดยวิธีการสร้างคำแบบสมาส
๒.สมาสโดยวิธีการสร้างคำแบบสนธิ (เชื่อมศัพท์)
 คำสมาสแบบวิธีสมาส
๑.จะต้องเป็นภาษาบาลีสันสกฤตเอามาชนกันเท่านั้น ห้ามนำคำชนิดอื่นเข้าไปผสม
คำต่อไปนี้ไม่ใช่คำสมาส เพราะมีคำไทยหรือคำภาษาอื่นปะปนอยู่ เช่น พลเมือง  พลความ  พลเรือน  พระพุทธเจ้า  ตรัสรู้  สรรพสิ่ง  ผลไม้  ราชวัง  คุณค่า  ทุนทรัพย์  ราชดำเนิน  ชำนาญการ  ฯลฯ
๒.คำสมาสตรงรอยชน  จะต้องอ่านเสียงสระ ถ้าระหว่างรอยชนไม่มีรูปสระ ให้อ่าน สระอะ  เช่น ประวัติศาสตร์  อุบัติเหตุ  บุตรรรยา  มนุษธรรม  ทากรรมกร  ชาติภูมิ  ชาติพันธุ์  ญาติเพท ฯลฯ
ยกเว้น ชื่อเฉพาะบางคำ เช่น  ธนบุรี  ชลบุรี  สมุทรปราการ  สุภาพบุรุษ  มัธยมศึกษา มหาชน มหาพน ฯลฯ
๓.คำหลักอยู่หลัง คำขยายอยู่หน้า (เวลาแปลจึงแปลจากหลังมาหน้า)  เช่น อัคคีภัย (ภัยที่เกิดจากไฟ)
สังฆราช(ราชาของสงฆ์)  สุนทรพจน์(ถ้อยคำอันไพเราะ)  ปูชนียสถาน(สถานที่ควรบูชา) รัฐมนตรี(ที่ปรึกษาของรัฐ)
๔.ระหว่างรอยชนห้ามใช้ (      ) และ (    )  เช่น
แพทย์ +  ศาสตร์   =  แพทยศาสตร์              กาญจน์ + บุรี    =  กาญจนบุรี
ศิลป์ + ศาสตร์      =   ศิลปศาสตร์                 อิสระ  +  ภาพ   =  อิสรภาพ
ยกเว้น  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย(เพราะเป็นชื่อที่มีมาแต่สมัยรัชกาลที่ ๕ และเป็นนามพระราชทาน)
๕.คำที่ลงท้ายด้วย  ศาสตร์  ภาพ  ภัย  กรรม  การ  กิจ  ศึกษา  มักเป็นคำสมาส  เช่น อักษรศาสตร์
ทัศนียภาพ  โจรกรรม  วาตภัย  อุตสาหกรรม  ธุรกิจ  หัตถศึกษา  พลศึกษา ฯลฯ
คำสมาสแบบสนธิ
       การสมาสแบบสนธิ  คือ  การกลืนเสียงของคำ  หมายถึง การนำภาษาบาลี สันสกฤต มาเชื่อมกัน มี  ๓ วิธี คือ
๑.สระสนธิ  คือ คือการเชื่อมด้วยสระกับสระ ของคำแรกกับคำหลัง (ลบสระหน้าใช้สระหลัง) เช่น
อะอา + อะอา   =   อา                                      เทศ + อภิบาล      =   เทศาภิบาล
อะอา + อิอี       =   ออีเอ                                 นร + อินทร์        =   นรินทร์
อะอา + อุอู       =   อุอูโอ                                 ชล + อุทร             =   ชโลทร
อิอี + อิ              =   อิ                                      กรี + อินทร์          =   กรินทร์
อุอู + อุอู           =   อุอู                                    ครู + อุปกรณ์       =   ครุปกรณ์
อะอา + เอไอโอเอา  =  เอไอโอเอา               โภค + ไอศวรรย์  =  โภไคสวรรย์
๒.พยัญชนะสนธิ  คือการเชื่อมด้วยพยัญชนะกับพยัญชนะของคำแรกกับคำหลัง  ให้จำไว้เลยว่า พยัญชนะสนธิมีคำดังต่อไปนี้  มโนภาพ  มโนรถ ศิโรเพฐน์  เตโชชัย  นิรภัย  อาตมาภาพ
พรหมชาติ  รโหฐาน  เตโชธาตุ  นิรทุกข์  ทุรชน  ทุรพล
๓.นิคหิตสนธิ  คือ     เชื่อมกับพยัญชนะหรือสระของคำหลัง  มี ๓ วิธี
๓.๑   + สระ  ให้เปลี่ยนนิคหิตเป็น  ม  แล้วสนธิกัน
สํ + อาคม          =       สม + อาคม               =       สมาคม
สํ + อาทาน        =            สม + อาทาน        =            สมาทาน
สํ + อุทัย            =            สม + อุทัย            =            สมุทัย
สํ + โอสร          =            สม + โอสร             =            สโมสร
๓.๒  ํ + พยัญชนะ  ให้เปลี่ยน (   ํ  ) เป็นพยัญชนะตัวสุดท้ายของวรรคที่สนธิด้วย
(พยัญชนะตัวสุดท้ายของพยัญชนะวรรคคือ  ง  ญ  ณ  น  ม )
สํ + คม                =            สัง + คม                =            สังคม(ก ข ค ฆ ง)
สํ + จร                 =            สัญ + จร               =            สัญจร(จ ฉ ช ฌ ญ)
สํ + ฐาน               =            สัณ + ฐาน            =            สัณฐาน(ฏ ฐ ฑ ฒ ณ)
สํ + ธาน                =            สัน + ธาน            =            สันธาน(ต ถ ท ธ น)
สํ + ผัส                  =           สัม + ผัส               =            สัมผัส(ป ผ พ ภ ม)
๓.๓   + เศษวรรค  ให้เปลี่ยน (   ํ  ) เป็น  ง   เท่านั้น
สํ + โยค            =            สังโยค
สํ +  วร             =            สังวร
สํ +  สาร           =            สงสาร
สํ + หรณ์           =            สังหรณ์คำและการเพิ่มคำ
อ้างอิง https://mayuree2016.wordpress.com
ชื่อ นางสาว จิรภิญญา หมวดคง ชั้นม.5/2 เลขที่ 32

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

นิทานพื้นบ้าน